เชื่อว่าไม่มีผู้ใช้รถคนไหนไม่รู้จักการทำ พ.ร.บ.รถยนต์ เพราะเป็นข้อบังคับที่เจ้าของรถทุกคันจะต้องทำอยู่แล้ว แต่สำหรับมือใหม่หัดขับ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้รถใช้ถนน ก็อาจจะมีคำถาม หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่มากก็น้อย ซึ่งจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ พ.ร.บ.รถยนต์ และเหตุผลว่าทำไมรถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์
พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันภัยสำหรับรถยนต์ที่มีการบังคับใช้ทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ในกรณีที่รถประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริง จ่ายสูงสุด 30,000 บาทโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าป็นฝ่ายถูกหรือผิด ในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวรทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ และเสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุจะได้เงินชดเชย สูงสุดถึง 35,000 บาท
หากพิสูจน์ออกมาแล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับเงินค่าเสียหายจากบริษัทของฝ่ายผิด เป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุด 80,000 บาท เงินชดเชยในกรณีเสียชีวิต พิการถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ สูงสุด 500,000 บาท และเงินชดเชยระหว่างเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท สูงสุด 20 วัน
นอกจากจะให้ความคุ้มครองทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องบนท้องถนนแล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ ก็ยังเปรียบเหมือนเป็นหลักประกันกับทางโรงพยาบาลที่รับการรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ว่าจะได้รับค่าใช้จ่ายจากทางผู้ประสบเหตุอย่างแน่นอน
หากเจ้าของรถไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีความผิดทางกฎหมาย โดยจะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท และมีผลต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ หรือป้ายภาษีประจำปีได้ และที่สำคัญ คือ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ทั้งสิ้น
รถทุกคันจำเป็นต้องทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ทั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้คนบนท้องถนน และตัวคุณเอง และหากไม่ได้ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็จะถือว่าผิดกฎหมาย และมีค่าปรับด้วยเช่นกัน บอกเลยว่าการไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นมีแต่ข้อเสียและโทษต่อการใช้รถของคุณ ดังนั้นอย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์อย่างต่อเนื่องทุกปี
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย