vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
โดนรถชน เป็นฝ่ายถูก ควรเบิกพรบ.อย่างไร?

โดนรถชน เป็นฝ่ายถูก ควรเบิกพ.ร.บ.อย่างไร?

schedule
share
โดนรถชน เป็นฝ่ายถูก ควรเบิกพ.ร.บ.อย่างไร?
ที่มารูปภาพ: https://www.freepik.com/free-photo/insurance-agent-working-during-site-car-accident-claim-process-people-car-insurance-claim_5597947.htm

รถชนเป็นฝ่ายถูกสามารถเบิกค่าสินไหมสำหรับผู้ประสบภัยจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ได้ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยในและสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพและเสียชีวิตได้

เชื่อว่าไม่มีใครอยากมีประสบการณ์ รถ เกิด อุบัติเหตุ และเบิกค่าสินไหมทดแทน แต่เมื่อเป็นผู้ที่ขับขี่รถยนต์ก็จำเป็นที่จะต้องรู้เงื่อนไขความคุ้มครองที่สามารถเบิกได้จากพ.ร.บ. เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ

รถ เกิด อุบัติเหตุ ต้องทำอย่างไร

เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุผู้ขับขี่ควรตั้งสติก่อนที่จะลงจากรถเพื่อมาดูความเสียหายของผู้ประสบภัยและพาหนะ จากนั้นหากพบว่ามีผู้บาดเจ็บ ควรรีบโทร.เบอร์ 1669 โดยแจ้งรายละเอียดของผู้บาดเจ็บให้ครบถ้วน หากบาดเจ็บไม่มาก สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ควรรีบหาพื้นที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ระหว่างที่รอรถพยาบาล จึงโทร.แจ้งตำรวจเพื่อบันทึกเหตุการณ์ เก็บหลักฐานเพื่อใช้ในการสืบข้อเท็จจริง และโทร.เรียกประกันให้เรียบร้อย

เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ เบิกอะไรจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ได้บ้าง?

ในส่วนของความคุ้มครองของ พ.ร.บ.มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเยียวยาผู้ประสบภัย โดยผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่าสินไหมสำหรับรักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท และหากพบว่าอุบัติเหตุนั้นทำให้ผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต จะได้ค่าเยียวยาเพิ่มอีก 35,000 บาท โดยไม่สืบหาข้อเท็จจริง ซึ่งผู้ประสบภัยที่รักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลสามารถมอบอำนาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการเก็บค่ารักษาจาก พ.ร.บ. ได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ในกรณีที่ไม่ได้รักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจะต้องสำรองจ่ายไปก่อนและติดต่อขอรับค่าสินไหมได้จากประกันภัยรถยนต์ที่ถือครอง หรือบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยนำใบเสร็จและบันทึกประจำวันใช้เป็นเอกสารประกอบการเบิก

สำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ผ่านกระบวนการสืบหาข้อเท็จจริงและเป็นฝ่ายถูก สามารถเรียกรับค่าสินไหมเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลตามจริง สูงสุด 80,000 บาท กรณีเหตุนั้นทำให้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต 500,000 บาท, กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 200,000 บาท, สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป 500,000 บาท, สูญเสียนิ้ว 200,000 บาท นอกจากนี้ในกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจะได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)

เมื่อเห็นความสำคัญในการมี พ.ร.บ. แล้ว ผู้ขับขี่จึงควรตรวจสอบวันหมดอายุของ พ.ร.บ.ก่อนเดินทางอยู่เสมอและหากพบว่า พ.ร.บ.ใกล้หมดอายุ สามารถ ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก ทั้งนี้ การต่อ พ.ร.บ.บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกสำหรับรถยนต์โดยสาร หรือรถบรรทุกโดยสารที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะต้องดำเนินการตรวจสภาพรถก่อนทุกครั้ง

การต่อ พ.ร.บ.ตามกำหนดเป็นสิ่งที่ช่วยบรรเทาความเสี่ยงให้กับผู้ประสบภัยทุกคน โดยเฉพาะฝ่ายถูกที่สูญเสียทั้งความปลอดภัยในชีวิต เวลา และทรัพย์สิน สามารถ ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ ด้วยตัวเองได้บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก หรือเลือกซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์กับ Insurverse ในราคาที่คุ้มค่ากว่า สะดวกกว่า ได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)