หลายคนอาจจะเข้าใจแล้ว ว่าพ.ร.บ. รถยนต์เป็นตัวช่วยคุ้มครองคุณเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้น ซึ่งประกันรถยนต์ก็ให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุเช่นเดียวกัน แล้วทั้งสอง มีความแตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงมีให้ทำถึงสองแบบ
พ.ร.บ. รถยนต์คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่หลายคนเรียกว่า “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” ซึ่งเป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องมี
พ.ร.บ. รถยนต์เป็นหนึ่งในกฎหมายที่เอาไว้คุ้มครองความปลอดภัยให้กับทุกคนที่ใช้รถใช้ถนน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก รวมถึงคนเดินถนน ซึ่งถือเป็นหลักประกันว่าทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
สามารถเรียกประกันรถยนต์ได้ว่าเป็น “ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ” เอาไว้ ซึ่งเป็นประกันรถยนต์ที่กฎหมายไม่ได้บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเจ้าของรถคันนั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกับ พ.ร.บ. รถยนต์ที่เป็นภาคบังคับ เพราะประกันรถยนต์จะมีก็ได้หรือไม่มีก็ได้นั่นเอง
ซึ่งเป็นประกันรถยนต์ที่มีให้เลือกหลายแบบ ตามงบประมาณและความต้องการของเจ้าของรถ โดยมีตั้งแต่ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 2, ชั้น 3+ และชั้น 3 แล้วแต่คุณจะเลือกการคุ้มครองแบบไหน
โดยหลัก ๆ ที่เห็นได้ชัดจะแตกต่างกันตรงนี้
ที่แนะนำที่สุดเลย คือมีทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์และประกันรถยนต์ร่วมกันทั้งคู่ เพื่อความสบายใจในการขับขี่ที่มากที่สุด
ทุกคนน่าจะหายสงสัยกันแล้ว ว่า พ.ร.บ. รถยนต์กับประกันรถยนต์แตกต่างกันอย่างไร อีกอย่างที่เราอยากแนะนำให้กับคุณนั่นคือ หากคุณทำประกันรถยนต์ของคุณอยู่แล้ว ให้เลือกต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับบริษัทประกันของคุณด้วยเลย เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน ไม่ต้องสุ่นวายต่อประกันละ พ.ร.บ. หลายที่ หากใครสนใจอยาก ทำประกันรถยนต์ พร้อมต่อพ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ เราขอแนะนำให้ทำที่ insurverse ทั้งง่ายและสะดวกสบาย แถมยังได้รับส่วนลดอีกเพียบที่คุณต้องสนใจ คุ้มครองครบจบในที่เดียว ให้คุณอุ่นใจในการขับขี่ ทุกที่ที่คุณไป ไร้ความกังวลแน่นอน
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
สมรรถนะรถยนต์ไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับรถยนต์ทั่วไป เหนือระดับด้วยความเป็น รถไฟฟ้า ev ประหยัดพลังงาน
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย