vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ภาษี รถยนต์ มีวิธีการต่อและคำนวณอย่างไร

ภาษี รถยนต์ มีวิธีการต่อและคำนวณอย่างไร

schedule
share
ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/photos/การทาบญช-การบญช-ภาษ-615384/

เคยรู้กันบ้างหรือไม่ว่า ภาษี รถยนต์ ที่เจ้าของรถต้องจ่ายในแต่ละปีมีวิธีการต่อและคำนวณอย่างไร ทำไมรถแต่ละคันจึงเสียภาษีไม่เท่ากัน แม้ว่าจะเป็นรถประเภทเดียวกัน วันนี้มาหาคำตอบไปด้วยกันว่ารถที่คุณใช้งานอยู่มีวิธีคำนวณภาษีอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้างในการต่อภาษีรถยนต์

ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง

ภาษีรถยนต์ถือเป็นหน้าที่ที่เจ้าของรถทุกคันจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีในทุก ๆ ปี สำหรับมือใหม่แล้วอาจจะยังไม่รู้เพราะในช่วงแรกจะมีศูนย์บริการรถยนต์และไฟแนนซ์คอยจัดการให้ เมื่อรถได้ทำการโอนมาเป็นชื่อของท่านแล้วจะต้องเสียภาษีรถยนต์ด้วยตนเองดังนี้

  • รถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี สามารถยื่นเรื่องเสียภาษีด้วยตนเอง ณ ที่ทำการสาขาของกรมขนส่งทางบกทั่วประเทศ
  • ก่อนยื่นเอกสารเพื่อเสียภาษีรถยนต์จะต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เสียก่อน โดยใช้สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
  • ให้นำเอกสารหลักฐานการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ยื่นคู่กับสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ พร้อมชำระเงินภาษีตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ได้คำนวณให้
  • รับแผ่นป้ายจดทะเบียนภาษี (ป้ายวงกลม) สมุดคู่มือจดทะเบียนรถและเอกสารการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กลับ ถือเป็นอันเสร็จสิ้นการต่อภาษีและ พ.ร.บ.รถยนต์ประจำปี

สำหรับรถยนต์ที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปตามที่ระบุไว้ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถจะต้องนำรถยนต์เข้ารับการตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชนหรือ ตรอ. พร้อมนำเอกสารหลักฐานการตรวจสภาพรถยนต์และสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ไปยื่นเพื่อ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และภาษีรถยนต์ในลำดับต่อไป

วิธีคำนวณภาษีรถยนต์

การคำนวณภาษีรถยนต์ต่อไปนี้จะเป็นการคำนวณภาษีจากรถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนขาวดำหรือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู โดยจะมีการคำนวณตามขนาดของเครื่อง (cc) ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1 – 600 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 0.50 บาท
  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 601 – 1,800 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 1.50 บาท
  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,801 cc ขึ้นไปคิดอัตราภาษี cc ละ 4 บาท

ยกตัวอย่างวิธีการคำนวณ ภาษี รถยนต์ ใหม่ อายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี

รถเก๋งเล็กขนาดเครื่องยนต์ 1,200 cc จะมีวิธีการคำนวณภาษีแบ่งเป็น 2 ช่วง

  • โดยช่วงที่ 1 600 cc  คิดเป็น 600 * 0.5 = 300 บาท
  • ช่วงที่ 2 601 – 1,800 cc คิดเป็น 600 * 1.50 = 900 บาท

หมายความว่า รถเก๋งเล็กขนาด 1,200 cc เสียภาษีทั้งสิ้น 300 + 900 = 1,200 บาท

รถกระบะ 4 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 3,000 cc จะมีวิธีการคำนวณภาษีแบ่งเป็น 3 ช่วง

  • โดยช่วงที่ 1 600 cc แรก คิดเป็น 600 * 0.5 = 300
  • ช่วงที่ 2 601 – 1,800 cc คิดเป็น 1,200 * 1.50 = 1,800 บาท
  • ช่วงที่ 3 1,801 – 3,000 cc คิดเป็น 1,200 * 4 = 4,800 บาท

หมายความว่า รถกระบะ 4 ประตู ขนาด 3,000 cc เสียภาษีทั้งสิ้น 300 + 1,800 + 4,800 = 6,900 บาท

รถยนต์อายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไปจะมีส่วนลดทางภาษี ดังนี้

  • รถยนต์อายุ 6 ปี ได้รับส่วนลดทางภาษี 10%
  • รถยนต์อายุ 7 ปี ได้รับส่วนลดทางภาษี 20%
  • รถยนต์อายุ 8 ปี ได้รับส่วนลดทางภาษี 30%
  • รถยนต์อายุ 9 ปี ได้รับส่วนลดทางภาษี 40%
  • รถยนต์อายุ 10 ปี ได้รับส่วนลดทางภาษี 50%

รถเก๋งขนาดเล็กเครื่องยนต์ 1,200 cc เมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 จะเสียภาษี 1,080 บาท, 960 บาท, 840 บาท, 720 บาท และ 600 บาท ตามลำดับตั้งแต่ปีที่ 6 ถึงปีที่ 10

รถกระบะ 4 ประตู เครื่องยนต์ 3,000 cc เมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 จะเสียภาษี 6,210 บาท, 5,520 บาท, 4,830 บาท, 4,140 บาท และ 3,450 บาท ตามลำดับตั้งแต่ปีที่ 6 ถึงปีที่ 10

นอกจากนี้เจ้าของรถทุกท่านยังสามารถต่อทะเบียนล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วัน และสามารถเช็กภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้อีกด้วย สำหรับใครที่มีความสงสัยเกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซต์ Insurverse หนึ่งในผู้แทนจำหน่ายประกันรถยนต์และ พ.ร.บ. ออนไลน์ในเครือทิพยประกันภัย และนอกจากท่านจะได้ทราบว่า พ.ร.บ.รถ คุ้มครองอะไรบ้าง  แล้วยังสามารถ เช็กราคา พ.ร.บ. ได้ทันทีที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)