รู้หรือไม่ ทุกครั้งที่ผู้ครอบครองรถต่อภาษีรถยนต์แต่ละปี นอกจากเป็นการปฏิบัติตามกฎจราจรแล้ว เงินภาษีรถยนต์ที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันจ่ายไปยังถูกจัดสรรเป็นค่าซ่อมแซมและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมให้ดีขึ้นด้วย แต่หากใครลืมต่อภาษีและพ.ร.บ.คุ้มครองรถจะโดนค่าปรับเท่าไหร่ เช็คดูได้ที่นี่!
การขาดต่อภาษีรถยนต์จะเสียค่าปรับเดือนละ 1% ของค่าภาษีรถ ตัวอย่าง: รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขนาด 1,600 ซีซี เสียภาษีตามปกติ ปีละประมาณ 1,800 บาท แต่เจ้าของรถยนต์ขาดต่อภาษีเป็นระยะเวลา 5 เดือน จะเสียค่าปรับจำนวน (1,800 x 1)/100 = 18 (บาท) x 5 (เดือน) = 90 บาท เป็นต้น โดยเจ้าของรถยนต์จะถูกปรับเมื่อดำเนินการต่อภาษีในช่วง 1 – 3 ปีที่ขาดต่อ แต่หากปล่อยให้ภาษีขาดเกินกว่า 3 ปีขึ้นไป ไม่เพียงแต่ป้ายทะเบียนที่ถูกยกเลิกแต่รถยนต์จะไม่สามารถใช้งานได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้ครอบครองรถยนต์จะต้องดำเนินการแจ้งจดทะเบียนใหม่กับกรมขนส่งทางบกพร้อมชำระค่าปรับทำให้เสียทั้งเงินและเวลา
หากคุณยังเข้าใจว่าภาษีและพ.ร.บ.รถยนต์ คือ เอกสารเดียว insurverse ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่คุณเข้าใจผิด เพราะภาษีเปรียบเสมือนการจดทะเบียนยืนยันความเป็นเจ้าของรถยนต์แต่พ.ร.บ.รถ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยรถยนต์หรือประกันภัยภาคบังคับที่มีไว้เพื่อชดเชยความเสียหายให้กับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถยนต์ ทำให้วันหมดอายุของภาษีและพ.ร.บ.จึงไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่เดียวกันก็ได้ ดังนั้นในกรณีที่ภาษีหมดอายุก่อนพ.ร.บ. ผู้ครอบครองรถจะต้องดำเนินการต่อภาษีให้เรียบร้อยจึงสามารถต่อพ.ร.บ.คุ้มครองรถได้รวมถึงหากนำรถยนต์ไปใช้งานโดยที่ภาษีขาดจะเสียค่าปรับตำรวจ 400 – 1,000 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบ
💚ทริคดีๆ💚 : คํานวณภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ครอบคลุมรถส่วนบุคคลทุกประเภทไม่ต้องเสียเวลาคำนวณเอง💚
การมีพ.ร.บ.เอาไว้จะช่วยคุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยการสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท โดยหลังจากได้พิสูจน์ความผิดและเป็นฝ่ายถูกจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 80,000 บาทต่อคน, ค่าชดเชยรายวันผู้ป่วยใน วันละ 200 บาทสูงสุด 20 วันและกรณีสูญเสียอวัยวะหรือชีวิตพ.ร.บ.จ่ายค่าสินไหมสูงสุด 500,000 บาทต่อคน ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์ขาดปรับเท่าไหร่นั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หมวด 4 บทกำหนดโทษ มาตรา 37 ระบุไว้ว่าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 7 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยความในมาตรา 7 ระบุไว้ว่า เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท
หากคุณไม่มีเวลาในการเดินทางไปต่อภาษีรถยนต์สามารถต่อภาษีด้วยตัวเองได้ง่ายๆ บนเว็บไซต์ ดังนี้
ในกรณีที่รถยนต์ของคุณจดทะเบียนไม่เกิน 7 ปีสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้โดยไม่ต้องนำรถยนต์ไปตรวจสภาพที่ตรวจสภาพรถยนต์เอกชน (ตรอ.) แต่ในกรณีที่จดทะเบียนเกินกว่า 7 ปีต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อนและเมื่อได้รับใบรายงานผลจึงสามารถต่อภาษีได้ โดยวิธีการต่อภาษีรถออนไลน์ต้องเข้าสู่เว็บไซต์กรมขนส่งทางบกและเข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย จากนั้นเลือกเมนูชำระภาษีรถประจำปีและเลือกชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยทำตามขั้นตอนต่างๆ ให้เรียบร้อยพร้อมชำระเงินและรอรับเอกสารภาษีได้ตามที่อยู่ที่กรอกไว้ภายใน 3 – 5 วันทำการ
เข้าสู่เว็บไซต์ insurverse และเลือกเมนูซื้อประกันออนไลน์ เลือกประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และเลือกเมนูเช็คราคา จากนั้นระบบจะแสดงค่าพ.ร.บ.รถยนต์ราคาเริ่มต้น 499 – 999 บาทขึ้นอยู่ประเภทรถยนต์และดำเนินการชำระเงินเป็นอันเสร็จเรียบร้อยรับความคุ้มครองทันที
ขาดต่อภาษีรถยนต์ค่าปรับ 1% ของภาษีประจำปี ในกรณีที่ไม่อยากขาดต่อภาษีรถยนต์หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถตรวจสอบระยะเวลาครบกำหนดและดำเนินการต่อภาษีและ พ.ร.บ. ล่วงหน้า โดยเลือกความคุ้มค่าในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ในราคาถูกกว่าที่ insurverse
หากสงสัยว่า ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท สามารถเช็กข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที เลือกราคาและเงื่อนไขที่เหมาะกับประเภทรถของคุณได้ง่ายๆ ไม่ต้องเสียเวลาหาข้อมูลหลายที่ คลิกเช็กเบี้ยพ.ร.บ.รถยนต์ได้เลย!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปีนั้นเป็นสิ่งที่จะสร้างความอุ่นใจ แต่หากลืมว่าทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับที่ไหน หมดอายุเมื่อไหร ตรวจสอบได้ดังนี้
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กี่บาท? ราคาเท่าไหร่? คำตอบขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์ เช่น รถเก๋ง 499 บาท รถกระบะ 799 บาท รถตู้ราคา 999 บาท ราคาถูกชัวร์แบบนี้ต้องที่ insurverse
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคันต้องทำ ซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด