vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ไม่ใช่เจ้าของรถ ทําประกัน ต่อพ.ร.บ. ต่อภาษีแทนกันได้ไหม

ไม่ใช่เจ้าของรถ ทําประกัน ต่อพ.ร.บ. ต่อภาษีแทนกันได้ไหม

schedule
share
ไม่ใช่เจ้าของรถ ทําประกัน ต่อพ.ร.บ. ต่อภาษีแทนกันได้ไหม
ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/th/photos/ไฟหนา-อบตเหต-รถยนต-สนาเงน-2940/

การเสียภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่จะต้องไปเสียภาษีรถยนต์หากยังครอบครองและใช้งานในทุก ๆ ปี แต่ถ้าวันใดติดธุระไม่สามารถไปต่อภาษีด้วยตัวเองได้ สามารถใช้คนอื่นไปแทนได้หรือไม่ รวมไปถึงการทำประกันรถและ พ.ร.บ. รถยนต์ และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการแบบใด มาดูข้อแนะนำต่อไปนี้กัน

ทำประกัน ต่อพ.ร.บ.และภาษีแทนกันได้หรือไม่

สำหรับการต่อ พ.ร.บ. ภาษีและประกันรถยนต์สามารถทำแทนกันได้ เพียงแต่ในขั้นตอนการกรอกข้อมูลในส่วนของ พ.ร.บ. รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์จะต้องกรอกข้อมูลในส่วนของเจ้าของรถ ผู้รับผลประโยชน์ตามที่เจ้าของรถต้องการ รวมไปถึงการระบุผู้ขับขี่, การไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่และแบบระบุรายชื่อพิเศษ ซึ่งทั้ง 3 แบบจะมีผลต่อค่าเบี้ยประกันภัยด้วย

การทำประกันภัยรถแบบระบุชื่อผู้ขับขี่

การทำประกันภัยแบบระบุผู้ขับขี่ เหมาะสำหรับรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลโดยความคุ้มครองที่ได้รับจะตกอยู่กับผู้ขับขี่เป็นหลัก ซึ่งการทำประกันดังกล่าวสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ 2 ชื่อ แต่ถ้ามีบุคคลอื่นมาขับขี่รถของคุณจนนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นฝ่ายผิด ในกรณีนี้ความเสียหายส่วนแรกผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ส่วนความเสียหายที่เหลือบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบให้และชื่อที่ระบุลงไปจะมีผลต่อส่วนลดของประกันภัยที่ทำ ยิ่งชื่อผู้ขับขี่ที่ระบุลงไปในกรมธรรม์มีอายุมากเท่าใด ส่วนลดค่าเบี้ยก็จะเพิ่มมากขึ้น

การทำประกันรถแบบไม่ระบุผู้ขับขี่

การทำประกันภัยแบบไม่ระบุผู้ขับขี่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาไม่ว่าใครที่ขับขี่รถยนต์คันที่เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองทันที ภายใต้การยินยอมจากเจ้าของรถ โดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายในส่วนแรก เพียงแต่ค่าเบี้ยของการทำประกันภัยรถยนต์ไม่ระบุตัวผู้ขับขี่จะมีค่าเบี้ยที่ค่อนข้างสูงและยังไม่มีส่วนลดค่าเบี้ยในส่วนนี้ด้วย เหมาะกับบริษัท, ร้านค้า ที่มีพนักงานสลับกันใช้งานรถยนต์อยู่ตลอดเวลา

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกประกัน พ.ร.บ. ได้ไหม

เมื่อเกิดอุบัติเหตุมีผู้บาดเจ็บ ผู้บาดเจ็บสามารถใช้สิทธิ์ในขั้นตอนการรักษาของ พ.ร.บ.รถยนต์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก โดยเอกสารที่นำไปยื่นให้กับสถานพยาบาลประกอบไปด้วย

  • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับรถ)
  • ใบแจ้งความ หรือ บันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.

ในการยื่น ลำดับแรกให้ยื่นที่สถานพยาบาลโดยจะได้รับสิทธิการรักษาเบื้องต้นจาก พ.ร.บ.รถยนต์ราคา 30,000 บาท หากมีการพิสูจน์ว่าใครถูก-ผิด พ.ร.บ.ทางฝ่ายผิดจะมาชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่มีส่วนเพิ่มเติมให้ในภายหลัง

จะเห็นว่าการต่อภาษีรถยนต์ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันรถยนต์ สามารถทำแทนกันได้ เพียงแต่ในส่วนของประกันรถยนต์และ พ.ร.บ.รถยนต์ จะต้องระบุชื่อผู้เอาประกันใส่ไว้ในกรมธรรม์และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ปัจจุบันสามารถ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ได้แล้ว ซึ่งทาง Insurverse มีบริการทั้งในส่วนของการ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ และประกันออนไลน์ ในราคาที่คุ้มค่า หากสนใจเช็ก พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ค่าเบี้ยเท่าไหร่ได้ที่นี่!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)