vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
เรื่องควรรู้ ก่อนต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์

เรื่องควรรู้ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์

schedule
share

คนมีรถทุกคนจะต้องรู้ว่าในแต่ละปีคุณจะต้องทำอะไรเกี่ยวกับรถของคุณบ้าง ซึ่งสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ของคุณทุกปีคือการต่อภาษีรถยนต์และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นกระบวนการที่สำคัญช่วยให้คุณขับขี่บนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยจากการถูกตำรวจจับ และได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์หากคุณเกิดอุบัติเหตุจะได้รับการช่วยเหลือทันที เพื่อให้คุณมีความเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการต่อภาษีรถยนต์และลงทะเบียน พ.ร.บ. รถยนต์ ออนไลน์ นี่คือเรื่องที่ควรรู้ที่คนมีรถต้องมี

ต้องต่อภาษีรถยนต์ก่อนที่จะต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 

ต้องต่อภาษีรถยนต์ก่อนที่จะต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 

ในประเทศไทย การต่อภาษีรถยนต์จะต้องทำก่อนที่จะต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เนื่องจากในกระบวนการต่อภาษีรถยนต์จะมีการตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อน และนำรับใบรับรองสภาพรถยนต์ ซึ่งเป็นเอกสารที่จำเป็นในการทำการต่อภาษีรถยนต์ และหากก็จะสามารถทำการต่อภาษีเรียบร้อย ก็จะสามารถจะต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ อย่างไรก็ตามการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์สามารถทำการต่อผ่านระบบออนไลน์ของ insurverse  ได้ง่าย ๆ โดยมีขั้นตอนในการต่อไม่อยาก ไม่ต้องเสียเวลาออกบ้านอีกด้วย 

สำหรับการต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ. รถยนต์มักจะมีลำดับการดำเนินงานอย่างเหมือนกัน แต่จะต้องเริ่มต้นด้วยการต่อภาษีรถยนต์ก่อน เพื่อให้ได้เอกสารและข้อมูลที่จำเป็นในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ การต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ. รถยนต์ทั้งสองนี้สามารถทำได้ที่สำนักงานการขนส่งทางบก และสถานที่ที่กรมการขนส่งอนุญาต และบริษัทประกันที่มีบริการออนไลน์

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ. รถยนต์มักจะแตกต่างไปตามแต่ละประเภทของรถและนโยบายของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่อไปนี้คือเอกสารที่มักจะต้องใช้งานบ่อย ๆ

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา 
  • หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. รถยนต์ (ที่ยังไม่หมดอายุ)
  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา 
  • บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ
ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์

ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์

ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์มักจะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถยนต์ ขนาดของเครื่องยนต์ และนโยบายของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น ข้อมูลต่อไปนี้เป็นเพียงข้อมูลทั่วไปเท่านั้น เพื่อให้คุณจะได้เตรียมค่าใช้จ่ายในการภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์ได้อย่างถูกต้องดังนี้

ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ 

  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์
  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 601–1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท
  • รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ พ.ร.บ. รถยนต์

  • รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง และกระบะสีประตู) ราคาประมาณ 600 บาท
  • รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ 2 ประตู) ราคาประมาณ 900 บาท
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) ราคาประมาณ 1,100 บาท

ช่องทางในการต่อภาษีรถยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์

สำหรับใครที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ. รถยนต์ที่สามารถแยกกันต่อได้ ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์และการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ จะต้องมีการต่อภาษีก่อน ซึ่งการต่อภาพษีรถยนต์สามารถเข้าไปที่กรมการขนส่งทางบก , ที่ทำการไปรษณีย์ , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) , ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี’ (Shop Thru for Tax) และ เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ ที่คุณสามารถเข้าไปต่อภาษีรถยนต์ พ.ร.บ. รถยนต์กับช่องทางสะดวกได้เลย

อย่างไรก็ตามในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีช่องทางที่ให้บริการที่สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านบริษัทประกันที่ให้บริการออนไลน์ได้ง่าย ๆ อย่าง insurverse  ที่สามารถเข้าไปต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้เลย ในตอนนี้ยังมีส่วนลดสำหรับทุกคนที่เข้าไปใช้บริการที่ insurverse อีกด้วย

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)