พรบ รถยนต์ คือสิ่งที่รถทุกคันต้องมี ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถตู้ ฯลฯ พูดง่าย ๆ ว่ารถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกถูกบังคับให้มี พ.ร.บ. ไม่อย่างนั้นแล้วจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และยังเข้าข่ายเป็นรถไม่มีทะเบียน เพราะหากไม่มี พ.ร.บ. ก็ไม่สามารถยื่นเรื่องต่อภาษีรถได้ โดยความสำคัญของ พ.ร.บ. คือทำหน้าที่คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด คุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลไม่รวมความเสียหายของรถ โดยการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ไม่แพง เฉลี่ยอยู่ที่ 600 – 1,200 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบรถ แต่รับความคุ้มครองสูงสุดถึง 500,000 บาท และเคยสงสัยหรือไม่ว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะเบิก พ.ร.บ. รถยนต์และ เบิก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน รวมถึงต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนนเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะฉะนั้นจึงควรทราบว่าเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนการเบิก พ.ร.บ. อย่างไรบ้าง
เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นแนะนำว่าหลังจาก ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ เรียบร้อยแล้ว ควรเก็บเอกสาร พ.ร.บ. เอาไว้ในรถ หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้หยิบมาใช้อ้างอิงได้ทันที เมื่อ พ.ร.บ. มีความสำคัญมากขนาดนี้ใครที่กำลังมองหาสถานที่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ไม่แรงแนะนำ Insurverse บริษัทประกันรถยนต์ออนไลน์ในเครือทิพยประกันภัยที่รับ ต่อพ.ร.บ. ออนไลน์ส่วนบุคคลด้วยราคาเป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีบริการประกันประเภทอื่น ๆ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันการเดินทาง ฯลฯ มีให้เลือกหลากหลายแบบประกันเพื่อให้คุณเลือกประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างลงตัว โดยสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านเว็บไซต์หรือคลิกเช็กเบี้ยเลย!
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
หลายๆ คนที่ขับรถน่าจะรู้กันอยู่แล้วล่ะ ก่อนต่อภาษีรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ซะก่อน แต่ตรงขั้นตอนชำระภาษีใน dlt vehicle tax เนี่ยสิทำยังไง
ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว รวมถึงการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ที่ง่าย
ทุกคนนน!! วันนี้มีเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับเจ้าของรถทุกคนมาบอกต่อ! ซึ่งก็คือ เรื่องของการต่อประกันภัยภาคบังคับหรือที่เรียกติดปากว่าการต่อพ.ร.บ.