vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม มีอะไรบ้างที่ต้องรู้

พ.ร.บ. รถยนต์คืออะไร คุ้มครองคู่กรณีไหม มีอะไรบ้างที่ต้องรู้

schedule
share

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับ เป็นสิ่งที่คนใช้รถทุกคันบนท้องถนน จำเป็นจะต้องทำไว้ตามข้อบังคับทางกฎหมาย แต่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้เลยว่า พ.ร.บ. คืออะไร ความคุ้มครองที่ได้รับนั้นมีอะไรบ้าง พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา หรือคุ้มครองเพียงแค่ตัวเราเท่านั้น ใครที่กำลังสงสัยในเรื่องนี้อยู่ insurverse จะมาอธิบายให้อ่านเอง

พ.ร.บ. คืออะไร

            พ.ร.บ.เป็นคำที่พูดกันติดปากมาจากคำเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับตามข้อกฎหมายที่กำหนดว่ารถที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกทุกคันจะต้องมี พ.ร.บ. เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับบุคคลที่อยู่ภายในรถ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ประสบภัยทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.

ความสำคัญของการมี พ.ร.บ. รถยนต์

นอกจากเป็นประกันภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว พ.ร.บ. รถยนต์ ยังเป็นหนึ่งในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี ในกรณีที่ไม่ทำจะถือว่าทำผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นอย่าลืมเป็นอันขาด

พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิด หรือถูก หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

พ.ร.บ. ไม่ได้มีเพียงแต่รถยนต์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถตู้ ล้วนแต่ต้องต่อ พ.ร.บ. ประจำประเภทรถของท่านในทุก ๆ ปีอีกด้วย ซึ่งราคาจะแตกต่างกันตามประเภทรถ แต่ความคุ้มครองจะเหมือนกันทั้งหมด

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เพราะฉะนั้นจะให้ความคุ้มครองแก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณีที่เป็นบุคคลภายนอก หรือคนเดินถนนที่ได้รับผลกระทบ โดยจะให้ความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยในส่วนต่าง ๆ อย่างกรณีสูญเสียอวัยวะ เสียชีวิต และค่าจัดการในการปลงศพ ซึ่งจะมีวงเงินในการคุ้มครองที่แตกต่างกันไป 

พ.ร.บ. รถ คุ้มครองอะไรบ้าง ? พ.ร.บ. หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ มีความคุ้มครองหลัก ๆ ต่อผู้ประสบภัยหรือครอบครัวของผู้ประสบภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยจะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

  • คุ้มครองต่อชีวิต : ในกรณีที่มีการเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บที่ทำให้เสียชีวิตภายใน 1 ปี ตั้งแต่วันเกิดเหตุ พ.ร.บ. จะคุ้มครองต่อชีวิตของผู้ประสบภัย โดยจำนวนค่าชดเชยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของบาดเจ็บหรือการเสียชีวิต
  • คุ้มครองต่อการบาดเจ็บหรือทุพพลภาพภายในระยะเวลาที่กำหนด : ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ พ.ร.บ. จะคุ้มครองต่อค่ารักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์การแพทย์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน
  • คุ้มครองต่อค่าประสบภัยในกรณีเสียชีวิต : หากผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวจะได้รับค่าประสบภัยตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. โดยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน
  • คุ้มครองต่อค่าประสบภัยในกรณีบาดเจ็บ : ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุค่าประสบภัยจะถูกจ่ายตามที่ระบุใน พ.ร.บ. โดยจะไม่เกินค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง (ไม่เกิน 30,000 บาท/คน)

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม

พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองคู่กรณีด้วยเช่นกัน ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายผิด แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก ก็จะขึ้นอยู่กับทางคู่กรณีว่าขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ และในส่วนของ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ทำไว้ จะมีรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมด ดังนี้ 

ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ กรณีเราเป็นฝ่ายผิด

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น แล้วเราเป็นฝ่ายผิด พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเบื้องต้น ดังนี้ 

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บแบบจ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • เงินชดใช้ในกรณีทุพพลภาพถาวร สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท 
  • ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน สูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท / คน

ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ กรณีเราเป็นฝ่ายถูก

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น แล้วเราเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครอง ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
  • เงินชดใช้ในกรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์กรมธรรม์ ชดเชย 200,000 – 500,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชย และค่าจัดการปลงศพ รวมไม่เกิน 500,000 บาท
  • ค่าชดเชยในการรับการรักษาแบบผู้ป่วยในไม่เกินวันละ 200 บาท นานไม่เกิน 20 วัน หรือเป็นจำนวนทั้งหมด 4,000 บาท

ขั้นตอนการเบิก พ.ร.บ. รถยนต์

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา แต่ยังไม่รู้จะต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อทำการเบิกความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ที่ทำไว้ สามารถทำตามขั้นตอนตามด้านล่างนี้ได้เลย 

  1. ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยที่ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์เอาไว้ เพื่อแจ้งเคลมความคุ้มครองพ.ร.บ. และเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น
  2. เตรียมเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดไปยื่นกับทางบริษัทประกันภัยที่ซื้อ พรบ รถยนต์ไว้ หรือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  3. หากเอกสารครบถ้วน จะได้รับเงินเยียวยาค่าความเสียหายเบื้องต้น ค่าสินไหมทดแทน หรืออื่น ๆ ภายในระยะเวลา 7 วันทำการ 

*การดำเนินเรื่องเคลมความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำได้ไม่เกิน 6 เดือน หรือ 180 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ*

เบิก พ.ร.บ. รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ในการเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ มีทั้งหมด ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดอุบัติเหตุ
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ใบแจ้งความ หรือใบบันทึกประจำวัน
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

เอกสารเพิ่มเติม กรณีบาดเจ็บ

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล

เอกสารเพิ่มเติม กรณีทุพพลภาพ

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
  • ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองความพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวัน หรือหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์จริง 

เอกสารเพิ่มเติม กรณีเสียชีวิต

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  • สำเนาบันทึกประจำวัน หรือหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิต

เอกสารเพิ่มเติม กรณีเบิกค่ารักษาผู้ป่วยใน

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
  • ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน 

พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่คุ้มครองกรณีใดบ้าง

หลายคนอาจจะรู้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองส่วนไหน แต่อะไรบ้างล่ะที่ พ.ร.บ. ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง เรามาดูกันดีกว่า  

  • กรณีเกิดสงคราม หรือการสู้รบที่เกิดจากศัตรูต่างชาติ
  • เมื่อมีสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ การยึดอำนาจ หรือการต่อต้านอำนาจรัฐ
  • ทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ และตัวรถที่เกิดความเสียหาย 
  • ความเสียหายจากการโดนโจรกรรม ปล้น หรือฉ้อโกง
  • การนำรถยนต์ไปใช้ที่ต่างประเทศ
  • การนำรถยนต์ไปใช้ผิดกฎหมาย อย่างเช่น การขนส่งยาเสพติด การแข่งรถบนท้องถนน หรือความผิดส่วนอื่นที่ทำให้เกิดการจับกุมจากเจ้าหน้าที่

ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์กับทาง insurverse ออนไลน์ในราคาเพียง 499 บาท รับความคุ้มครองทันที

หลังจากรู้ถึงความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์กันไปแล้ว หากใครที่กำลังจะหาที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาถูก แต่ยังไม่รู้ว่าจะหาที่ไหน มาซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์กับทาง insurverse เราดีกว่า เพราะซื้อง่ายได้ตลอด 24 ชม. แถมยังมีราคาเริ่มต้นเพียง 499 บาทเท่านั้น หลังต่อเสร็จก็รับกรมธรรม์ทางอีเมล พร้อมนำไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้เลย เรียกว่าสะดวก และตอบโจทย์สุด ๆ 

*ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567*

สรุปบทความ พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม มีอะไรบ้างที่ต้องรู้

ทุกคนเห็นกันแล้วใช่ไหมว่า การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ภาคบังคับ นั้นมีแต่ข้อดีของความคุ้มครองที่ได้รับ ทั้งตัวเราเอง และคู่กรณีร่วมด้วย จึงไม่ควรขาดต่อ พ.ร.บ. ในทุกปี เพราะนอกจากจะทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้ว ยังจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้อีกด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมาย และจะทำให้ต้องเสียค่าปรับตามมาในภายหลังอีกต่างหาก

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)