พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันภัยภาคบังคับ เป็นสิ่งที่คนใช้รถทุกคันบนท้องถนน จำเป็นจะต้องทำไว้ตามข้อบังคับทางกฎหมาย แต่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้เลยว่า พ.ร.บ. คืออะไร ความคุ้มครองที่ได้รับนั้นมีอะไรบ้าง พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา หรือคุ้มครองเพียงแค่ตัวเราเท่านั้น ใครที่กำลังสงสัยในเรื่องนี้อยู่ insurverse จะมาอธิบายให้อ่านเอง
พ.ร.บ.เป็นคำที่พูดกันติดปากมาจากคำเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับตามข้อกฎหมายที่กำหนดว่ารถที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกทุกคันจะต้องมี พ.ร.บ. เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับบุคคลที่อยู่ภายในรถ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ประสบภัยทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.
นอกจากเป็นประกันภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว พ.ร.บ. รถยนต์ ยังเป็นหนึ่งในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี ในกรณีที่ไม่ทำจะถือว่าทำผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นอย่าลืมเป็นอันขาด
พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิด หรือถูก หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
พ.ร.บ. ไม่ได้มีเพียงแต่รถยนต์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก รถตู้ ล้วนแต่ต้องต่อ พ.ร.บ. ประจำประเภทรถของท่านในทุก ๆ ปีอีกด้วย ซึ่งราคาจะแตกต่างกันตามประเภทรถ แต่ความคุ้มครองจะเหมือนกันทั้งหมด
พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เพราะฉะนั้นจะให้ความคุ้มครองแก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณีที่เป็นบุคคลภายนอก หรือคนเดินถนนที่ได้รับผลกระทบ โดยจะให้ความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยในส่วนต่าง ๆ อย่างกรณีสูญเสียอวัยวะ เสียชีวิต และค่าจัดการในการปลงศพ ซึ่งจะมีวงเงินในการคุ้มครองที่แตกต่างกันไป
พ.ร.บ. รถ คุ้มครองอะไรบ้าง ? พ.ร.บ. หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ มีความคุ้มครองหลัก ๆ ต่อผู้ประสบภัยหรือครอบครัวของผู้ประสบภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยจะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้
พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองคู่กรณีด้วยเช่นกัน ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายผิด แต่ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก ก็จะขึ้นอยู่กับทางคู่กรณีว่าขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือไม่ และในส่วนของ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ทำไว้ จะมีรายละเอียดความคุ้มครองทั้งหมด ดังนี้
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น แล้วเราเป็นฝ่ายผิด พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเบื้องต้น ดังนี้
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น แล้วเราเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครอง ดังนี้
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา แต่ยังไม่รู้จะต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อทำการเบิกความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ที่ทำไว้ สามารถทำตามขั้นตอนตามด้านล่างนี้ได้เลย
*การดำเนินเรื่องเคลมความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำได้ไม่เกิน 6 เดือน หรือ 180 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ*
เอกสารที่ต้องใช้ในการเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ มีทั้งหมด ดังนี้
หลายคนอาจจะรู้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองส่วนไหน แต่อะไรบ้างล่ะที่ พ.ร.บ. ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง เรามาดูกันดีกว่า
หลังจากรู้ถึงความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์กันไปแล้ว หากใครที่กำลังจะหาที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาถูก แต่ยังไม่รู้ว่าจะหาที่ไหน มาซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์กับทาง insurverse เราดีกว่า เพราะซื้อง่ายได้ตลอด 24 ชม. แถมยังมีราคาเริ่มต้นเพียง 499 บาทเท่านั้น หลังต่อเสร็จก็รับกรมธรรม์ทางอีเมล พร้อมนำไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้เลย เรียกว่าสะดวก และตอบโจทย์สุด ๆ
*ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567*
ทุกคนเห็นกันแล้วใช่ไหมว่า การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ภาคบังคับ นั้นมีแต่ข้อดีของความคุ้มครองที่ได้รับ ทั้งตัวเราเอง และคู่กรณีร่วมด้วย จึงไม่ควรขาดต่อ พ.ร.บ. ในทุกปี เพราะนอกจากจะทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้ว ยังจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้อีกด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมาย และจะทำให้ต้องเสียค่าปรับตามมาในภายหลังอีกต่างหาก
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง