vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
สีป้ายทะเบียนรถแต่ละสี หมายถึงอะไร ทำไมต้องมีหลายสี

สีป้ายทะเบียนรถแต่ละสี หมายถึงอะไร ทำไมต้องมีหลายสี

schedule
share

ผู้ใช้รถเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมสีป้ายทะเบียนรถที่ใช้งานเมืองไทยนั้นมีเยอะเหลือน บางทีก็เป็นเหลือง ป้ายดำ หรือป้ายเขียวบ้าง และยังมีอักษรที่สีแตกต่างกันออกไปอีก สรุปแล้วมันต่างกันอย่างไร และสีทะเบียนรถแต่ละแบบ ใช้สำหรับอะไรบ้าง วันนี้ insurverse เราจะมาอธิบายเรื่องนี้เข้าใจเอง 

ทำไมสีทะเบียนรถถึงต้องแตกต่างกัน 

การกำหนดให้สีของป้ายทะเบียนรถมีความแตกต่างกัน ก็เพื่อเป็นการแยกประเภทของรถที่จดทะเบียน รวมไปถึงลักษณะในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนบุคคล รถรับจ้าง รถสถานทูต รถของรัฐ และอื่น ๆ เพื่อความเป็นระเบียบ และง่ายต่อการตรวจสอบ 

สีป้ายทะเบียนรถแต่ละสี หมายถึงอะไร

สีป้ายทะเบียนรถแต่ละสี หมายถึงอะไร

เมื่อเรารู้กันไปแล้วว่า การแยกสีของป้ายทะเบียนรถ เกิดจากวัตถุประสงค์อะไร เราจะพาไปดูกันต่อว่า สีทะเบียนรถแต่ละประเภท ต้องจดทะเบียนในการใช้งานรถแบบไหน 

สีป้ายทะเบียนรถสีแดงสะท้อนแสง ตัวอักษรดำ

ป้ายประเภทนี้ จะเป็นป้ายทะเบียนชั่วคราวสำหรับรถออกใหม่ เพื่อยืนยันว่าสามารถใช้วิ่งได้อย่างถูกกฎหมาย และกำลังรอจดทะเบียนกับขนส่งอยู่ 

สีป้ายทะเบียนรถสีขาวสะท้อนแสง ตัวอักษรดำ

ป้ายประเภทนี้ จะเป็นประเภทที่เราพบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นป้ายสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง อย่างรถเก๋ง รถกระบะ รถ SUVและรถจักรยานยนต์ 

สีป้ายทะเบียนรถสีขาวสะท้อนแสง ตัวอักษรเขียว

ป้ายประเภทนี้ เป็นป้ายทะเบียนสำหรับรถกระบะ หรือรถบรรทุกส่วนบุคคลขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการใช้งานในการบรรทุกของ ซึ่งจะต่างจากรถกระบะป้ายทะเบียนขาว ตัวอักษรดำ ที่จดทะเบียนแบบส่วนบบุคคล จะไม่สามารถนำมาบรรทุกของได้ 

สีป้ายทะเบียนรถสีขาวสะท้อนแสง ตัวอักษรน้ำเงิน

ป้ายประเภทนี้ เป็นป้ายสำหรับรถนั่งส่วนบุคคลมีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่งขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรถตู้ รถมินิบัส และรถรับส่งนักเรียน ที่เรามักพบเห็นกันบ่อยบนท้องถนน 

สีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรดำ

ป้ายประเภทนี้ จะเป็นป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์รับจ้าง หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ที่ต้องบรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรถแท็กซี่ แล้วก็มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่เราเห็นกันจนชินบนถนน 

สีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรแดง

ป้ายประเภทนี้ เป็นป้ายสำหรับรถรับจ้างระหว่างจังหวัด ที่ใช้ในการส่งผู้โดยสารเดินทางข้ามจังหวัด เช่น รถตู้ข้ามจังหวัด รถบัสขนาดใหญ่ และรถมินิบัส 

สีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรเขียว

ป้ายประเภทนี้ เป็นป้ายสำหรับรถรับจ้างสามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊กที่ใช้งานภายในประเทศไทยเท่านั้น 

สีป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรน้ำเงิน

ป้ายประเภทนี้ เป็นป้ายทะเบียนสำหรับรถรับจ้าง 4 ล้อเล็ก เช่น รถกระป๋องคันเล็ก ๆ ที่มีระยะทางวิ่งไม่ไกลในการขนส่งผู้โดยสาร 

สีป้ายทะเบียนรถลายกราฟิก

ป้ายประเภทนี้ จะเป็นป้ายทะเบียนประมูล ที่กรมการขนส่งทางบก ได้นำตัวเลขชุดพิเศษมาทำการเปิดประมูลให้กับผู้ใช้รถ ซึ่งส่วนมากจะเป็นเลขสวยที่คัดมาแล้ว และจะมีลายกราฟิกประจำจังหวัดในการใช้งานป้ายนั้นด้วย 

ป้ายทะเบียนรถขายได้ไหม

ป้ายทะเบียนรถขายได้ไหม

ป้ายทะเบียนรถสามารถขายได้ โดยเฉพาะป้ายทะเบียนเลขมงคล ที่เป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ในการถือครอง แต่ปัญหาจะอยู่ตรงที่ว่า หากเป็นป้ายทะเบียนส่วนบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่ป้ายทะเบียนประมูล จะไม่สามารถทำการถือลอยเพื่อซื้อขายได้ แต่จะต้องอยู่บนเล่ม หรือสวมรถเท่านั้น จึงจะต้องสลับป้ายในการซื้อขายแทนนั่นเอง 

อยากจองป้ายทะเบียนรถ ต้องทำอย่างไร

ในปัจจุบัน การจองป้ายทะเบียนรถ สามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์กรมขนส่งทางบก https://reserve.dlt.go.th/reserve/v2/ และทำตามขั้นตอน ดังนี้ 

  1. กดจองเลขทะเบียนรถในเว็บไซต์
  2. อ่านหลักเกณฑ์ให้ครบถ้วนพร้อมกดปุ่มยอมรับ
  3. เลือกประเภทรถที่ต้องการจองป้ายทะเบียน
  4. กรอกรายละเอียดที่สำคัญให้ครบ (ชื่อ-นามสกุล, ยี่ห้อรถ, เลขตัวถังรถ, เบอร์โทรศัพท์, เลขที่ต้องการจอง)
  5. ตรวจสอบข้อมูลที่กรอกไปทั้งหมด ก่อนกดตกลง
  6. กดเช็คทะเบียนรถออนไลน์ว่าขึ้นข้อมูลในระบบหรือไม่

สรุป สีป้ายทะเบียนรถแต่ละสี หมายถึงอะไร ทำไมต้องมีหลายสี

และทั้งหมดนี้ ก็คือความหมายของสีป้ายทะเบียนรถ ที่ถูกแบ่งแยกประเภทจากการใช้งาน ซึ่งถูกบังคับใช้เพียงในประเทศไทยเท่านั้น โดยเป็นอีกหนึ่งความรู้ดี ๆ ที่ผู้ใช้รถควรศึกษาเอาไว้ เพราะอาจมีเหตุจำเป็นที่จะต้องจดทะเบียนในประเภทรถที่แตกต่างออกไป นอกเหนือจากป้ายทะเบียนส่วนบุคคล ข้อมูลตรงนี้อาจจะเป็นประโยชน์ในตอนนั้นได้เช่นกัน และสำหรับคนมีรถที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ที่ถูกใจ ให้ insurverse ดูแลคุณดีกว่า เพราะเราเป็นประกันออนไลน์เจ้าแรกในไทย ที่ให้คุณออกแบบกรมธรรม์ได้อย่างอิสระ ตอบโจทย์คนทำประกันทุกรูปแบบอย่างโดนใจ 

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)