รถยนต์ทุกคัน มีค่าใช้จ่าย มีภาษีรถยนต์ที่ต้องต่อทุกปี เมื่อเราจ่ายภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว จะได้รับป้ายรับรองการต่อทะเบียนรถ ที่ใช้ยืนยันว่าใช้รถบนท้องถนนได้อย่างถูกต้อง และจะมีวันระบุภาษีรถยนต์ที่ต้องต่อในครั้งถัดไป ซึ่งถ้าหากใครไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าขาดการต่อภาษี หรือทะเบียนขาดนั่นเอง
สิ่งที่ทุกคนต้องรู้คือ อย่าให้ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีเด็ดขาด อย่างน้อย เจ้าของรถต้องสังเกตวันที่ต้องต่อในปีถัดไป ควรต่อก่อนกำหนดไม่เกิน 90 วัน แต่หากเกิน ให้รีบต่อทันที จะได้ไม่ถูกปรับ หากรถขาดการต่อภาษีรถยนต์ไม่เกิน 3 ปี รถจะยังซื้อขายได้ แต่ผู้ซื้อรถ ต้องนำไปต่อทะเบียนเอง หรือถ้าจะนำไปทำธุรกรรมประเภทอื่น ก็ต้องต่อภาษีรถยนต์ให้เรียบร้อยก่อน
💚ทริคดีๆ💚 : คํานวณภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ครอบคลุมรถส่วนบุคคลทุกประเภทไม่ต้องเสียเวลาคำนวณเอง💚
แน่นอนว่า การขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะมีผลเสียตามมา โดยหากไม่ยอมต่อภาษี สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ
เท่ากับว่า แค่โดน 2 อย่างนี้ ก็จะใช้รถไม่ได้เลย ต้องดำเนินการขอทะเบียนรถใหม่ทั้งหมด พร้อมจ่ายภาษีรถยนต์ย้อนหลัง 3 ปีอีกด้วย
รถแจ้งจอด หมายถึง หยุดใช้รถคันนี้ชั่วคราวหรือถาวร เพื่อหยุดเสียภาษีรถยนต์ แต่ยังคงสิทธิ์ในการนำรถกลับมาใช้ได้ในอนาคตได้
การนับทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี จะนับตั้งแต่วันสิ้นสุดอายุ โดยคุณสามารถดูได้จากป้ายสี่เหลี่ยมภาษีรถยนต์หรือป้ายวงกลมค่ะ ให้ดูจากวันที่ระบุในป้ายตรงส่วนวันสิ้นอายุหรือดูจากสมุดคู่มือทะเบียนรถค่ะ หากสิ้นสุดปีพ.ศ.ใด ก็ให้นับจากปีพ.ศ.นั้นไป 3 ปี เช่น ป้ายหมดอายุ ตุลาคม 2567 ก็จะหมดอายุ ตุลาคม 2570 ให้รีบไปต่ออายุก่อนที่ทะเบียนรถจะขาด อย่าให้ภาษีรถยนต์ขาด เกิน 3 ปี จะทำให้เสียค่าปรับโดยใช่เหตุ
ถ้าใครปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาด เกิน 3 ปี จะต้องดำเนินการส่งป้ายทะเบียนคืนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกระงับป้ายทะเบียน ถ้าทะเบียนขาดแล้วยังฝ่าฝืนนำรถมาใช้นะคะ หากเจอด่านตรวจขึ้นมาทะเบียนรถขาดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้หากปล่อยขาดเกิน 3 ปี ไม่เพียงแต่จะเสียค่าปรับทะเบียนรถขาดเพียงอย่างเดียว คุณจะต้องจ่ายภาษีรถยนต์ก่อนหน้าพร้อมค่าปรับสำหรับทะเบียนรถขาด เกิน 3 ปี อีกด้วยและต้องเสียเวลามาจัดการทำป้ายทะเบียนใหม่และเริ่มต้นขั้นตอนการยื่นขอเลขทะเบียนใหม่ทั้งหมด ทำให้ต้องจ่ายเงินค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ใหม่อีกด้วยค่ะ ดังนั้นภาษีรถยนต์ขาด เกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่? ก็จะมีค่าใช้จ่ายจุกจิกเกิดขึ้นเยอะกว่าที่คิดเลยค่ะ อย่างน้อยๆ ก็ค่าธรรมเนียมเกือบ 600 บาทแล้วค่ะ
ก่อนอื่น จะต้องทำการคืนป้ายทะเบียนและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน เพื่อทำการบันทึกการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่นำมาแจ้ง ก็จะต้องถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท และต้องแจ้งจดทะเบียนใหม่ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมและค่าปรับต่างๆดังนี้
ผลจากการขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ทำให้ใช้ป้ายทะเบียนเดิมไม่ได้แล้ว ก็ต้องมาดำเนินเรื่องกันใหม่ทั้งหมด โดยมีขั้นตอนดังนี้
สำหรับหลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่
หากขาดการต่อภาษีรถยนต์ไปเกิน 3 ปี นอกจากโดนปรับชำระเงินย้อนหลังแล้ว ยังต้องมานั่งทำการจดทะเบียนใหม่อีก แต่หากดำเนินการเสร็จสิ้น จะมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ต่อไว้ด้วย ก็สามารถทำได้ เพื่อความอุ่นใจ กับการคุ้มครองของประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ครอบคลุมทุกกรณี และต่อไปนี้ อย่าลืมต่อภาษีรถยนต์กันนะทุกคน
ภาษีรถยนต์ขาด เกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่? แล้วทะเบียนขาดเกิน 3 ปี ใช้เลขเดิมได้ไหม? ในส่วนนี้หากทะเบียนขาดไปแล้วจะไม่สามารถใช้เลขทะเบียนเดิมได้แล้วค่ะ ต้องดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น เดินทางไปที่กรมการขนส่งทางบก, เสียค่าปรับทะเบียนรถขาด, จากนั้นยื่นเรื่องขอจดเลขทะเบียนใหม่และต้องตรวจสภาพรถใหม่ทั้งหมด ถึงจะต่อทะเบียนรถขาด เกิน 3 ปี ใหม่กับนายทะเบียนได้ หากไม่อยากเปลี่ยนเลขทะเบียนใหม่ อยากใช้เลขทะเบียนเดิม ต้องห้ามละเลยจ่ายภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปีด้วยนะคะ
ภาษีรถยนต์ขาด เกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่? รถทะเบียนขาด 3 ปี ยังต่อได้อยู่ไหม? วันนี้มีคำตอบให้ค่ะ ถ้าหากทะเบียนรถขาดเกิน 2 ปีแต่ไม่ถึง 3 ปี ยังสามารถต่อได้แน่นอน อาจจะต้องเสียค่าปรับต่างๆ ย้อนหลังบ้าง แต่สำหรับการต่อทะเบียนรถขาด เกิน 3 ปี ไปแล้วนั้น ถ้าได้รับใบระงับและถูกสั่งแจ้งจอดจะไม่สามารถต่อภาษีรถได้แล้วค่ะ จะต้องไปดำเนินการตามขั้นตอนยื่นขอจดทะเบียนใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก เพื่อตรวจสภาพรถใหม่และจัดการขอทำทะเบียนรถใหม่ค่ะ นอกจากนี้ยังมีอีก 1 กรณีที่หลายๆ คนสงสัยว่าภาษีรถยนต์ขาด เกิน 3 ปี เสียเท่าไหร่? ทะเบียนขาดยังสามารถโอนรถยนต์ได้ไหม? คำตอบคือ คนขายรถยังสามารถโอนรถได้ตามปกติค่ะ แต่ผู้ซื้อรถจะต้องดำเนินการเรื่องต่อทะเบียนรถยนต์ขาดให้เรียบร้อยพร้อมกับจ่ายค่าภาษีรถย้อนหลัง ก่อนนำรถไปใช้งานเท่านั้นค่ะ
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
การทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นในยุคนี้ บางคนมีประกันหลายฉบับ บางคนทำไว้หลายบริษัท พอทำประกันไว้หลายฉบับ หลายบริษัท หลายปีติด ๆ กัน แล้วเล่มหายหรือจำไม่ได้ว่าทำไว้กับใคร ปัญหาเริ่มมาแบบไม่ทันตั้งตัว โชคดีที่ทุกวันนี้สามารถเช็คกรมธรรม์จากเลขบัตรประชาชนได้แล้ว ไม่ต้องไปขุดหาเอกสารเก่า ไม่ต้องโทรถามใครให้ยุ่ง
เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท… Continue reading ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง