vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี

ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ผ่อนได้ไหม? รู้ทันทุกขั้นตอนก่อนโดนฟ้อง คุยจบ เคลียร์ได้ ไม่ต้องหนี

schedule
share

เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วบริษัทประกันของอีกฝ่ายโทรมาเรียกเก็บค่าซ่อม ใครไม่เคยเจอก็อาจจะคิดว่า “ก็แค่จ่ายไปสิ” แต่พอถึงเวลาจริง บางเคสค่าซ่อมอาจพุ่งไปถึงหลักแสนแบบไม่ทันตั้งตัว แถมบางคนไม่มีเงินก้อนพร้อมจ่ายทันที ก็เลยกลายเป็นคำถามยอดฮิตว่า ถ้าไม่มีเงินจ่าย ประกันเรียกค่าซ่อมแบบนี้ ผ่อนได้ไหม? แล้วจะคุยกับประกันยังไงให้ไม่โดนฟ้อง ต้องเตรียมตัวยังไงบ้างให้รอดจากสถานการณ์สุดเครียดนี้ทุกมุม มาหาคำตอบแบบไม่ต้องมโนกันในบทความนี้ดีกว่า

การเลือกประกันรถยนต์ที่เข้าใจคนขับจริง ๆ เลยเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้เลือกความคุ้มครองเองได้ตามงบอย่าง insurverse ที่ช่วยให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินจำเป็น แถมยังซื้อตรงไม่ผ่านตัวแทน ถูกจริงตั้งแต่แรก

ไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมในทันที ทำไงดี

ถ้าบริษัทประกันเรียกเก็บค่าซ่อมจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด แล้วคนคนนั้นไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวน ไม่ต้องรีบจ่ายทันทีแบบหน้ามืดตามัว เพราะสามารถขอเจรจากับบริษัทประกันได้ตรง ๆ ว่าจะขอผ่อนจ่ายเป็นงวดได้ไหม ซึ่งประกันหลายเจ้าก็พร้อมรับฟัง ถ้ามีเหตุผลและความจริงใจที่จะจ่ายจริง

วิธีนี้เรียกว่า การประนอมหนี้ คล้าย ๆ กับการตกลงกันว่า จะผ่อนเท่าไหร่ กี่งวด แล้วต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และป้องกันปัญหาในอนาคต แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท

ประกันของตัวเองช่วยอะไรได้บ้าง

ในบางเคส คนที่เป็นฝ่ายผิดก็ยังมีประกันรถยนต์ของตัวเองอยู่ แบบนี้สบายใจได้ในระดับนึง เพราะประกันของเราจะเข้ามาช่วยดูแลค่าซ่อมในส่วนที่ครอบคลุมไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ แต่ต้องไม่ใช่เคสที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิ เช่น เมาแล้วขับ หรือใช้รถผิดประเภท ถ้าไม่เข้าข่ายพวกนี้ ประกันจะช่วยรับผิดชอบค่าซ่อมรถให้คู่กรณีตามวงเงินที่ระบุไว้

อย่างประกันชั้น 1 ก็จะมีวงเงินความเสียหายที่เกิดกับบุคคลภายนอกประมาณ 1-5 ล้านบาท ซึ่งมากพอสมควร แต่ถ้าเกิดว่าค่าซ่อมมันทะลุเกินวงเงินในกรมธรรม์ เช่น ประกันคุ้มครองแค่ 2 ล้านบาท แต่ค่าซ่อมรถคู่กรณีดันอยู่ที่ 3 ล้าน ส่วนที่เกินมาอีก 1 ล้าน คนทำประกันต้องจ่ายเองนะ ตรงนี้ต้องดูให้ดี เพราะบางคนเข้าใจผิดว่าทำประกันแล้วไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ซึ่งไม่ใช่

ถ้าเห็นว่าค่าซ่อมแพงเว่อร์ ทำยังไงได้บ้าง

บางครั้งประกันส่งบิลค่าซ่อมมาแบบโหดร้ายทารุณ เห็นแล้วหน้าซีด คิดในใจว่านี่ราคาซ่อมหรือเปลี่ยนรถใหม่ ถ้าเจอเคสแบบนี้ ไม่ต้องยอมจ่ายทันที สามารถโต้แย้งหรือขอให้ตรวจสอบความเหมาะสมของราคาค่าซ่อมได้

ถ้ายังไม่ลงตัว ประกันอาจฟ้องศาลเพื่อเรียกค่าเสียหาย และเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งศาลจะเป็นคนกลาง ช่วยตัดสินว่าสิ่งที่ประกันเรียกมานั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ รวมถึงกำหนดวิธีการชำระเงิน เช่น ให้ผ่อนชำระได้ตามกำลังของผู้ต้องจ่าย นี่แหละคือช่องทางสำคัญที่ทำให้หลายคนรอดพ้นจากการต้องจ่ายเงินก้อนโตแบบทันที

ไม่มีประกันเลย จะเจรจายังไงให้รอด

ถ้าดันไปชนกับรถที่มีประกัน แต่ตัวเองไม่มีประกันเลย แล้วกลายเป็นฝ่ายผิด สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ประกันของคู่กรณีจะเคลมให้ก่อน แล้วเรียกเก็บเงินกับเราในภายหลัง ซึ่งแน่นอนว่าราคาค่าซ่อมก็จะถูกตีราคามาเต็มสูบ ใครไม่มีเงินจ่ายก็อย่าเพิ่งหนี ให้ติดต่อไปยังบริษัทประกันเพื่อขอเจรจา ผ่อนจ่ายได้เหมือนกัน ขอแค่อย่าหลบหน้า เพราะถ้าเงียบหายไปเฉย ๆ บริษัทจะฟ้องร้อง และถ้ามีคำสั่งศาลออกมาแล้วจะเคลียร์ยากกว่าเดิม

ประกันเรียกเก็บค่าซ่อม ต้องจ่ายภายในกี่วัน

อันนี้ไม่มีตัวเลขตายตัว เพราะทุกอย่างอยู่ที่การเจรจา ประกันจะส่งจดหมายแจ้งค่าเสียหายมาก่อน ถ้ารับรู้แล้วว่าไม่มีเงินจ่าย ก็ให้รีบโทรกลับไปแจ้งเจรจา อย่าปล่อยไว้เฉย ๆ ถ้าผลัดไปนาน ๆ โดยไม่ติดต่ออะไรเลย ประกันอาจตัดสินใจใช้สิทธิตามกฎหมายฟ้องร้องได้

พอเข้าสู่กระบวนการศาล ศาลจะกำหนดระยะเวลาและวิธีจ่ายเงินให้เหมาะสมกับความสามารถของคนที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินก้อน หรือแบบผ่อนเป็นงวด ๆ ตามกำลัง

ถ้าเป็นฝ่ายถูก ต้องจ่ายอะไรมั้ย

ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายถูก และมีประกันอยู่ ก็ไม่ต้องกังวลเลย เพราะเจ้าหน้าที่ประกันจะจัดการเรื่องทั้งหมดแทน ทั้งการประเมินค่าเสียหาย การเคลม การส่งซ่อม โดยเราจะได้ใบเคลมมาไว้ใช้กับอู่ที่ร่วมรายการ หรือศูนย์บริการ แล้วคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทประกันของเราอีกที

ในกรณีที่คู่กรณีไม่มีเงินจ่าย บริษัทประกันก็อาจเรียกเก็บเงินทีหลัง และสามารถเปิดทางให้คู่กรณีขอผ่อนชำระกับประกันได้เหมือนกัน เรื่องนี้คนมักไม่รู้ว่า ฝ่ายผิดก็ผ่อนค่าซ่อมให้ประกันได้ ถ้าตกลงกันดี ๆ

อยากได้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ทำไง

ระหว่างที่รถกำลังซ่อมอยู่แล้วใช้รถไม่ได้ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถคือเงินที่เราเรียกร้องได้จากประกันของคู่กรณี ใช้สำหรับค่ารถแท็กซี่ ค่ารถไฟฟ้า หรือค่ารถเมล์ระหว่างไม่มีรถใช้

แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น และต้องมีประกันด้วย แถมต้องมีใบขับขี่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้ามีครบ ก็สามารถเก็บบิลค่าเดินทางทุกชนิดไว้ แล้วส่งให้กับบริษัทประกันของฝ่ายผิดเพื่อขอเบิกคืนได้เลย

ประกันไม่คุ้มครองในเคสแบบไหนบ้าง

หลายคนเข้าใจผิดว่ามีประกันแล้วจะรอดทุกเคส ไม่ใช่จ้า เพราะมีบางกรณีที่ประกันไม่รับผิดชอบให้ เช่น

  • ขับรถไปปล้น หรือขนของผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด
  • เมาแล้วขับ แล้วตรวจพบแอลกอฮอล์เกิน 150 มก.
  • ขับรถแบบเสี่ยงอันตราย เช่น แข่งรถจนเกิดอุบัติเหตุ
  • ขับรถออกนอกเขตคุ้มครอง โดยไม่แจ้งประกันไว้ก่อน
  • อุบัติเหตุจากเหตุการณ์รุนแรง เช่น สงครามหรือการก่อการร้าย

ใครที่คิดจะทำประกัน ต้องอ่านกรมธรรม์ดี ๆ เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่ประกันจะจ่ายให้เสมอไป และถ้าทำผิดกฎจริง ๆ ประกันอาจบอกปัดทุกความรับผิดชอบได้เลย

สรุปแบบเข้าใจง่าย

จากสถานการณ์ที่อาจดูเป็นเรื่องใหญ่ ถ้ามองให้ละเอียดจะเห็นเลยว่าการถูกเรียกเก็บค่าซ่อมจากประกันมีทางออกหลายแบบ ไม่ว่าจะเจรจาผ่อนจ่าย การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย หรือแม้แต่การโต้แย้งยอดค่าซ่อม ทุกอย่างมีขั้นตอนที่จัดการได้จริง ไม่จำเป็นต้องหนีปัญหา ถ้าเข้าใจสิทธิ์ของตัวเองและวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า ยิ่งถ้าเป็นฝ่ายถูกแล้วมีประกันอยู่ก็แทบไม่ต้องจัดการอะไรเลย ประกันดูแลให้ครบตั้งแต่ต้นจนจบ

สำหรับใครที่ยังไม่มีประกัน หรือกำลังมองหาแผนที่ยืดหยุ่นกับตัวเอง insurverse คือทางเลือกที่ตอบโจทย์สุด เพราะสามารถเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ได้ทันที ปรับแผนได้เอง ไม่ต้องง้อเจ้าหน้าที่ และไม่มีค่าเสียหายในส่วนแรก จะรถชนหรือรถซ่อม ก็รู้เลยว่าตัวเองจ่ายเท่าไหร่ ไม่โดนบวกเพิ่มทีหลังแน่นอน

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)