vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รถเบรกแตก ทำอย่างไร

รถเบรกแตก เกิดจากอะไร ประกันให้ความคุ้มครองด้วยไหม

schedule
share

ทุกคนรู้กันหรือไม่ว่า หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในหลาย ๆ ครั้ง มักเกิดจะระบบเบรครถยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่าอาการรถเบรกแตก จนทำให้ไม่สามารถหยุดรถอยู่ และเสยท้ายคันข้างหน้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้หลายคนน่าจะเกิดความสงสัยกันแล้วใช่ไหม ว่าอาการรถเบรกแตกมันเกิดจากอะไรได้บ้าง และหากเบรกไม่อยู่จนไปชนคันหน้า ประกันจะยังให้ความคุ้มครองหรือเปล่า วันนี้ insurverse เราจะมาตอบข้อสงสัยนี้ให้เอง 

รถเบรกแตก ประกันให้ความคุ้มครองไหม

รถเบรกแตก ประกันคุ้มครองไหม

รถเบรกแตก ประกันจะให้ความคุ้มครองขึ้นอยู่กับกรณีไป ซึ่งจะมีการแบ่งรายละเอียดการคุ้มครอง และข้อยกเว้นในกรมธรรม์เอาไว้ ดังนี้ 

เบรกแตก เพราะระบบเบรครถเสื่อมสภาพ

ในกรณีที่รถเบรกแตก เพราะระบบเบรครถยนต์เสื่อมสภาพ ที่ไม่ได้รับความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการกระทำของบุคคลภายนอก ความเสียหายจากการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนตัวรถ จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จากบริษัทประกันภัย ตามหมวดการยกเว้นความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อที่ 7.2 “การแตกหักของเครื่องจักรกลไกของรถยนต์ หรือการเสียหายหรือการหยุดเดินของเครื่องจักรกลไก หรือเครื่องไฟฟ้าของรถยนต์อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ”

เบรกแตก จนทำให้เกิดการเฉี่ยวชน

แต่ในกรณีที่รถเบรกแตก แล้วเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน พลิกคว่ำ หรือสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และชีวิตของผู้เอาประกัน รวมไปถึงบุคคลอื่นที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์ตามปกติ 

รถเบรกแตก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง 

รถเบรกแตก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

ระบบเบรครถยนต์ มีการทำงานร่วมกันหลายส่วนในการหยุดรถ จึงจำเป็นจะต้องไล่เช็คเบรครถในหลายจุด ว่าอาการเบรกแตกที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุอะไรกันแน่ แต่โดยมากมักจะเกิดจากอาการเหล่านี้ทั้งหมด

ผ้าเบรกหมด

ผ้าเบรกหมด เป็นหนึ่งในสาเหตุแรก ๆ ที่ทำให้รถเบรกแตกจนหยุดไม่อยู่ ซึ่งโดยมากจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าที่สามารถจับสังเกตได้ อย่างเช่น การเหยียบเบรกแล้วจม หรือต้องเหยียบลึกมากกว่าปกติเพื่อให้รถหยุด และยังอีกอาการที่สามารถรับรู้ได้เช่นกัน ก็คือเสียงดังที่เกิดขึ้นเหมือนเหล็กสีกับเหล็กดังเอี๊ยด หรือมีเสียงดังที่คล้ายเหล็กขูดกันดังครืด สองเสียงที่เกิดขึ้นนี้ ก็เป็นอีกสัญญาณเตือนที่คนใช้รถสามารถสังเกตเองได้ 

ท่อน้ำมันเบรกรั่ว

ท่อน้ำมันเบรกรั่วซึม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รถเบรกแตกได้ และที่สำคัญยังยากในการจับสังเกตในช่วงแรกที่เริ่มมีอาการด้วย เพราะน้ำมันเบรกที่ถูกปั๊มเข้าไปยังคงอยู่ จึงสามารถเหยียบเบรกในครั้งแรกแล้วไม่เห็นถึงความผิดปกติใด ๆ แต่การเหยียบครั้งต่อไปจะทำให้แป้นเบรกจมลงกว่าเดิม และท้ายที่สุดก็จะเกิดการเบรกไม่อยู่จากน้ำมันเบรกที่รั่วออกไปจนหมด 

น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ

น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ คืออีกอาการที่ทำให้รถเบรกแตก หรือเบรกไม่อยู่ได้เหมือนกัน เพราะน้ำมันเบรกจะทำหน้าที่ส่งแรงดันจากแม่ปั๊มไปยังลูกสูบเบรก และยังช่วยป้องกันการสึกหรอที่เกิดขึ้นภายในระบบเบรก หากเกิดการเสื่อมสภาพขึ้นมา จะทำให้ระบบเบรกไม่สามารถทำงานได้ตามปกติดังเดิม 

น้ำมันเบรกต่ำ

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รถเบรกยากขึ้น ก็คือระดับน้ำมันเบรกต่ำกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงขั้นเกิดการรั่วซึม ซึ่งจุดนี้อาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่เป็นจุดที่สามารถใช้เช็กอาการผ้าเบรกใกล้หมดได้ เพราะน้ำมันเบรกจะย้ายไปอยู่ที่ปั๊มเบรกด้านล่างแทนจนทำน้ำมันเบรกในกระปุกลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด

น้ำมันเบรกชื้น

อาการน้ำมันเบรกชื้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ เพราะทำมันเบรกเป็นของเหลวสังเคราะห์ จึงทำให้เกิดการดูดซับความชื้นจากภายนอกเข้ามา จนทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในระบบเบรกเกิดสนิมขึ้นได้ หรืออาจทำให้น้ำมันเบรกมีจุดเดือดที่ต่ำลง และเลวร้ายที่สุดก็คือการระเหยไปจากระบบจนทำการเบรกรถไม่ได้ 

แรงดันน้ำมันเบรกทำงานผิดปกติ

เป็นอีกสาเหตุที่เกิดขึ้นได้หลังเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก จากการที่ไล่อากาศออกไม่หมด จึงทำให้ระบบเบรกทำงานไม่สมบูรณ์จากการส่งแรงดันไปไม่เต็มที่ เลยเกิดอาการรถเบรกแตกขึ้นได้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ “รถเบรกแตก” ต้องทำยังไงให้ปลอดภัย

"รถเบรกแตก" ต้องทำยังไงให้ปลอดภัย

เมื่อทราบถึงสาเหตุ และอาการต่าง ๆ ที่ทำให้ระบบเบรครถยนต์ทำงานผิดปกติกันไปแล้ว เราลองมาดูวิธีในการรับมือกันบ้างดีกว่า หากเกิดเหตุการณ์รถเบรกแตกขึ้นมา ควรจะควบคุมรถอย่างไรให้รอดจากอุบัติเหตุร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น เรามาดูกัน 

  • ถอนคันเร่งและเข้าเกียร์ต่ำ : สิ่งแรกที่ต้องทำคือการลดความเร็วรถลงด้วยการถอนคันเร่ง และเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ จากเกียร์ D มาเป็นเกียร์ 2 และ 1 แบบไต่ละระดับไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เอนจินเบรกทำงานช่วยชะลอรถ
  • ดึงเบรกมือช่วย : อีกสิ่งที่สามารถทำได้ คือการดึงเบรกมือช่วยทีละนิด โดยไม่ต้องดึงขึ้นทั้งหมดเพราะทำได้ยาก และอาจเป็นอันตรายมากกว่าเป็นผลดี จึงควรดึงขึ้นช้า ๆ เพื่อช่วยชะลอตัวรถลงเท่านั้น 
  • ชิดซ้ายพร้อมเปิดไฟฉุกเฉิน : หลังลดความเร็วลง และเริ่มคุมตัวรถได้อย่างมั่นคงแล้ว ให้ทำการนำรถเข้าชิดซ้าย พร้อมกับเปิดไฟฉุกเฉินทันที เพื่อป้องกันอุบัติรถด้านหลังที่อาจแล่นมาชนท้ายเอาได้ 

ควรเช็คเบรครถยนต์อย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทาง

การตรวจเช็กระบบเบรครถยนต์ เป็นสิ่งที่คนใช้รถทุกคนควรทำเป็นอย่างมาก เพราะระบบเบรกเป็นจุดที่ส่งผลต่อความปลอดภัยโดยตรงในการใช้รถ ซึ่งสามารถเช็คเบรกได้เบื้องต้น ดังนี้ 

  • สังเกตจากเสียง : การสังเกตอาการรถเมื่อทำการเหยียบเบรก เป็นจุดที่สามารถเช็กได้ในเบื้องต้น หากมีเสียงหอน หรือเสียงแปลก ๆ ขึ้นมาในระหว่างเบรก ควรนำรถไปตรวจเช็กทันที
  • สังเกตจากกลิ่น : กลิ่นไหม้ หรือกลิ่นควันจากการเหยียบเบรกมากเกินไป เป็นอีกจุดที่สังเกตได้ก่อนเกิดอาการเบรกแตก
  • สังเกตจากความรู้สึก : เมื่อเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่าเบรกจน ต้องกดลึกกว่าปกติ หรือมีระยะเบรกเพิ่มขึ้น อาการพวกนี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนที่ควรระวังก่อนเกิดอาการเบรกแตกได้เช่นกัน
  • สังเกตไฟแผงหน้าปัด : หากระบบเบรกมีปัญหา รถส่วนใหญ่จะมีการแจ้งเตือนที่แผงหน้าปัดถึงการทำงานผิดปกติในระบบทันที จึงเป็นอีกจุดที่สังเกตได้ และไม่ควรละเลยในการนำไปตรวจเช็กเด็ดขาด

ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์กับทาง insurverse ออนไลน์ในราคาเพียง 499 บาท รับความคุ้มครองทันที 

เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประจำทุกปีแบบไม่มีขาด เป็นสิ่งที่คนใช้รถทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์สามารถทำได้ง่ายผ่านทางออนไลน์ ตลอด 24 ชม. แถมยังมีราคาเริ่มต้นเพียง 499 บาทเท่านั้น ใครที่ใกล้ถึงเวลาต่อ พรบ แต่ยังไม่รู้ว่าจะหา พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาถูกที่ไหน มาซื้อกับทาง insurverse ดีกว่า รับรองว่าถูกชัวร์ แถมซื้อได้ง่ายในไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น 

*ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567*

สรุปบทความ รถเบรกแตก เกิดจากอะไร ประกันให้ความคุ้มครองด้วยไหม

การหมั่นตรวจเช็คเบรครถยนต์ เป็นสิ่งที่คนใช้รถต้องคอยจับสังเกตอยู่เป็นประจำ เพราะระบบเบรกมีความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ในการขับขี่ที่เกี่ยวโยงถึงความปลอดภัยโดยตรง จึงไม่ควรละเลยเด็ดขาด เมื่อมีอาการแปลก ๆ ในระหว่างการใช้งาน และปล่อยไว้จนบานปลายกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้รถเบรกแตกขึ้นมา

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)