vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
วิธีการเบิกประกันภัย พ.ร.บ. จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

วิธีการเบิกประกันภัย พ.ร.บ. จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

schedule
share
ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/woman-using-smartphone-electric-car_28478687.htm

พรบ รถยนต์ คือสิ่งที่รถทุกคันต้องมี ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถตู้ ฯลฯ พูดง่าย ๆ ว่ารถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกถูกบังคับให้มี พ.ร.บ. ไม่อย่างนั้นแล้วจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และยังเข้าข่ายเป็นรถไม่มีทะเบียน เพราะหากไม่มี พ.ร.บ. ก็ไม่สามารถยื่นเรื่องต่อภาษีรถได้ โดยความสำคัญของ พ.ร.บ. คือทำหน้าที่คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด คุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลไม่รวมความเสียหายของรถ โดยการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ไม่แพง เฉลี่ยอยู่ที่ 600 – 1,200 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบรถ แต่รับความคุ้มครองสูงสุดถึง 500,000 บาท และเคยสงสัยหรือไม่ว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะเบิก พ.ร.บ. รถยนต์และ เบิก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน รวมถึงต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เบิก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน ต้องทำอย่างไรบ้าง

เหตุการณ์ไม่คาดฝันบนท้องถนนเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะฉะนั้นจึงควรทราบว่าเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนการเบิก พ.ร.บ. อย่างไรบ้าง

  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนให้รีบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที
  • ติดต่อบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ที่ซื้อ พ.ร.บ. เพื่อแจ้งเหตุการณ์และเพื่อการเคลมประกัน
  • แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน โดยเอกสารบันทึกประจำวันจะเป็นหลักฐานในการขอเบิก พ.ร.บ.
  • รวบรวมเอกสารเพื่อเบิกค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชย โดยผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมสามารถดำเนินการเพื่อขอเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ผ่านโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาหรือบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  • พ.ร.บ. จะคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นรวมถึงค่าสินไหมทดแทนภายใน 7 วัน
  • การเบิก พ.ร.บ. จะต้องดำเนินการภายใน 180 วัน หรือ 6 เดือน นับจากวันที่เกิดเหตุ

เอกสารที่ใช้ในการเบิก พ.ร.บ.

  • สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีอายุไม่ถึง 15 ปี สามารถใช้สูติบัตรแทนได้)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถที่เกิดเหตุ
  • สำเนาใบขับขี่ (กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่)
  • ใบกรมธรรม์ พ.ร.บ.
  • ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • ใบรับรองแพทย์
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
  • หนังสือรับรองความพิการ กรณีทุพพลภาพ
  • ใบมรณบัตร กรณีเสียชีวิต

เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นแนะนำว่าหลังจาก ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ เรียบร้อยแล้ว ควรเก็บเอกสาร พ.ร.บ. เอาไว้ในรถ หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้หยิบมาใช้อ้างอิงได้ทันที เมื่อ พ.ร.บ. มีความสำคัญมากขนาดนี้ใครที่กำลังมองหาสถานที่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ราคา ไม่แรงแนะนำ Insurverse บริษัทประกันรถยนต์ออนไลน์ในเครือทิพยประกันภัยที่รับ ต่อพ.ร.บ. ออนไลน์ส่วนบุคคลด้วยราคาเป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีบริการประกันประเภทอื่น ๆ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันการเดินทาง ฯลฯ มีให้เลือกหลากหลายแบบประกันเพื่อให้คุณเลือกประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างลงตัว โดยสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านเว็บไซต์หรือคลิกเช็กเบี้ยเลย!

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย

© Copyright 2023 บริษัท อินชัวร์เวิร์ส จำกัด (มหาชน)