vertical_align_top
keyboard_arrow_leftย้อนกลับ
รถเข้าเกียร์ไม่ได้

รถเข้าเกียร์ไม่ได้ เกิดจากอะไร? แนะวิธีแก้ไขเบื้องต้น ง่ายนิดเดียว

schedule
share

เคยไหม? กำลังรีบไปทำงานหรือไปนัดสำคัญ แล้วรถเจ้ากรรมดันเข้าเกียร์ไม่ได้ เสียเวลาแบบงง ๆ บางครั้งอาจพาลไปคิดว่ารถเสียหนักแน่ แต่เดี๋ยวก่อน! ปัญหานี้อาจไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปล่อยผ่านได้ เพราะถ้าคุณเข้าใจสาเหตุและแก้ไขอย่างถูกวิธี ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายและความเสียหายได้มหาศาล 

ในวันนี้ insurverse จะพาคุณเจาะลึกทุกประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหา รถเข้าเกียร์ไม่ได้ ทั้งสาเหตุและวิธีแก้ไข อ่านจบแล้วเตรียมรับมือได้เลย

car gear
source: https://www.pickpik.com/black-and-white-car-interior-gear-gear-shift-black-car-99550

รถเข้าเกียร์ไม่ได้ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

ปัญหารถเข้าเกียร์ไม่ได้ มีหลายสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งจากระบบเกียร์เองหรือปัจจัยภายนอก การรู้ที่มาของปัญหาเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขอย่างถูกต้อง

รถเข้าเกียร์ไม่ได้ไม่ใช่แค่เรื่องน่ารำคาญ แต่มันอาจเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้เลย แต่ไม่ต้องห่วง ถ้าคุณมีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จาก insurverse เพราะเราคุ้มครองครบทุกกรณี ให้คุณมั่นใจได้ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและความปลอดภัยระหว่างเดินทาง ทุกปัญหารถยนต์ เราพร้อมช่วยดูแลด้วยประกันที่คุณ DIY ได้เอง

น้ำมันเกียร์หมดหรือเสื่อมสภาพ

น้ำมันเกียร์ทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นในระบบเกียร์ ถ้าปริมาณน้ำมันเกียร์ต่ำเกินไป หรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานเป็นเวลานาน จะทำให้การเปลี่ยนเกียร์ทำได้ยากและรถเข้าเกียร์ไม่ได้ อาการที่มักเกิดขึ้นร่วมคือเสียงดังผิดปกติขณะเปลี่ยนเกียร์ หรือเกียร์กระตุก

  • ระดับน้ำมันเกียร์ต่ำ อาจเกิดจากรอยรั่วในระบบเกียร์ ซึ่งมักจะพบคราบน้ำมันเกียร์ใต้รถยนต์เมื่อจอดนิ่ง
  • คุณภาพน้ำมันเกียร์เสื่อม น้ำมันเกียร์ควรมีสีใสหรือสีชมพู หากน้ำมันมีสีคล้ำหรือมีกลิ่นไหม้ จำเป็นต้องเปลี่ยนทันที

สายเกียร์ขาดหรือหลวม

สายเกียร์เป็นชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างคันเกียร์และระบบเกียร์ภายในรถยนต์ ถ้าสายเกียร์หลวม ชำรุด หรือสายเกียร์ค้าง จะทำให้การเปลี่ยนเกียร์ทำได้ยาก หรือรถเข้าเกียร์ไม่ได้เลย กรณีนี้พบได้บ่อยในรถที่ใช้งานมาเป็นเวลานานหรือไม่ได้รับการดูแลรักษา

  • สายเกียร์ที่ชำรุดมักทำให้คันเกียร์เลื่อนได้ไม่เต็มที่ หรือหลวมมากจนไม่สามารถล็อกเกียร์ได้
  • ในกรณีที่สายเกียร์ขาด จะไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้เลย และจำเป็นต้องเปลี่ยนสายใหม่

ระบบคลัตช์เสียหาย

สำหรับรถยนต์เกียร์ธรรมดา ปัญหาเกี่ยวกับคลัตช์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รถเข้าเกียร์ไม่ได้ เช่น แผ่นคลัตช์สึกหรอ จานกดคลัตช์เสีย หรือระบบไฮดรอลิกที่ใช้ควบคุมคลัตช์มีปัญหา หากระบบคลัตช์ไม่สามารถสร้างแรงดันได้เพียงพอ จะทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างราบรื่น

  • คลัตช์สึกหรอ อาการที่พบคือคลัตช์ลื่น หรือแป้นคลัตช์แข็งกว่าปกติ
  • ระบบไฮดรอลิกมีปัญหา น้ำมันคลัตช์รั่วหรือหมด จะส่งผลให้แป้นคลัตช์ไม่ตอบสนองตามที่ควร

ระบบล็อกเกียร์ทำงานผิดพลาด

ในรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ระบบล็อกเกียร์เป็นฟังก์ชันที่ช่วยป้องกันการเปลี่ยนเกียร์ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น เมื่อลืมเหยียบเบรกก่อนเปลี่ยนเกียร์ หากระบบนี้ทำงานผิดพลาด เช่น เซ็นเซอร์ล็อกเกียร์เสีย ฟิวส์ขาด หรือปุ่ม Shift Lock เสีย จะทำให้ไม่สามารถเข้าเกียร์ได้

  • ระบบล็อกเกียร์ที่ขัดข้อง มักจะแสดงอาการที่คันเกียร์ติดค้าง หรือปุ่ม Shift Lock ไม่ตอบสนอง

ระบบไฟฟ้าในรถยนต์มีปัญหา

ในรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ระบบเกียร์มักเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้า หากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เช่น ฟิวส์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเกียร์ขาด หรือตัวควบคุมเกียร์ (Transmission Control Module) เสียหาย จะทำให้รถเข้าเกียร์ไม่ได้ หรือเกียร์ค้างในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง

อุปกรณ์ภายในระบบเกียร์เสียหาย

สำหรับรถที่ใช้งานมานาน อุปกรณ์ภายในเกียร์ เช่น เฟืองเกียร์ หรือตัวซิงโครไนเซอร์ อาจเสื่อมสภาพหรือเสียหาย การเปลี่ยนเกียร์จึงทำได้ยากหรือติดขัด

  • การสึกหรอของเฟืองเกียร์มักเกิดจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น การเปลี่ยนเกียร์กระชาก หรือไม่เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามกำหนด

ระบบเบรกมือไม่ปลดล็อก

ในบางกรณี โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีระบบเบรกมือไฟฟ้า หากเบรกมือไม่ปลดล็อก หรือระบบไฟฟ้าที่ควบคุมเบรกมือมีปัญหา จะทำให้ไม่สามารถเข้าเกียร์เดินหน้าได้

  • ระบบเบรกมือไฟฟ้าที่เสีย อาจเกิดจากแบตเตอรี่รถยนต์ที่เสื่อม หรือเซ็นเซอร์ที่ควบคุมการทำงานขัดข้อง
man fixing a car
source: https://www.needpix.com/photo/1706600/auto-repair-oil-change-oil-auto-shop-repair-work-motor-service

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นที่สามารถทำได้ทันที

หากรถเข้าเกียร์ไม่ได้ ลองทำตามวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อประเมินและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างตรงจุดก่อนนำรถเข้าศูนย์บริการ:

ตรวจระดับน้ำมันเกียร์

  • เปิดฝากระโปรงรถ ใช้ก้านวัดน้ำมันเกียร์เพื่อตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของน้ำมันเกียร์
  • เติมน้ำมันเกียร์ให้เหมาะสม หากระดับน้ำมันต่ำเกินไป ควรเติมน้ำมันเกียร์ชนิดที่เหมาะสมตามคู่มือรถยนต์
  • เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ น้ำมันเกียร์ที่มีสีดำหรือกลิ่นไหม้แสดงถึงการเสื่อมสภาพ จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ทันที
  • ตรวจสอบรอยรั่ว หากน้ำมันเกียร์ลดลงอย่างผิดปกติ อาจเกิดจากรอยรั่วในระบบ เช่น ซีลเกียร์เสีย หรือท่อส่งน้ำมันหลวม

เช็กสายเกียร์

  • ตรวจความสมบูรณ์ของสายเกียร์ สายเกียร์ที่ขาดหรือหลวมอาจทำให้คันเกียร์ไม่ตอบสนอง ควรตรวจสอบและเปลี่ยนใหม่หากพบความเสียหาย
  • ปรับตั้งสายเกียร์ สำหรับบางกรณี สายเกียร์ที่หลุดหรือไม่ตรงตำแหน่งสามารถแก้ไขได้โดยการปรับตั้งใหม่ และเกียร์ก็จะสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก การใช้งานที่กระชากหรือลากเกียร์อาจทำให้สายเกียร์เสียหายเร็วขึ้น

รีเซ็ตระบบไฟฟ้า

  • ปิด-เปิดเครื่องยนต์ ลองปิดเครื่องยนต์ รอประมาณ 5-10 นาที แล้วสตาร์ทรถใหม่เพื่อรีเซ็ตระบบไฟฟ้า
  • ตรวจฟิวส์ หากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เช่น ฟิวส์ขาด ควรเปลี่ยนฟิวส์ใหม่โดยใช้ขนาดที่ตรงตามคู่มือรถ
  • เช็กไฟเตืน สังเกตไฟเตือนบนหน้าปัดรถ เช่น ไฟ Check Engine หรือไฟที่เกี่ยวข้องกับระบบเกียร์ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงปัญหาไฟฟ้าในระบบเกียร์

ใช้ฟังก์ชัน Shift Lock หรือ Override

รถบางรุ่นมีปุ่มนี้เพื่อช่วยปลดล็อกเกียร์ในกรณีฉุกเฉิน เช่น รถไม่สามารถเข้าเกียร์ P หรือล็อกอยู่ในเกียร์ใดเกียร์หนึ่ง อย่าลืมตรวจสอบวิธีใช้จากคู่มือรถ เพื่อปลดล็อกเกียร์ได้อย่างถูกต้อง

ตรวจสอบระบบเบรกมือ

  • ตรวจสอบเบรกมือไฟฟ้า หากเบรกมือไฟฟ้าไม่ปลดล็อก ให้ลองเปิด-ปิดระบบไฟฟ้าของรถเพื่อรีเซ็ตการทำงาน
  • ตรวจสายเบรกมือ สำหรับเบรกมือแบบดั้งเดิม ควรตรวจสอบว่ามีสายเบรกที่ตึงเกินไปหรือขาดหรือไม่

หลีกเลี่ยงการฝืนใช้งาน

  • อย่าฝืนดันเกียร์ การดันเกียร์ด้วยแรงอาจทำให้ชิ้นส่วนภายในเสียหายมากขึ้น
  • หยุดใช้งานทันที หาก รถเข้าเกียร์ไม่ได้ และปัญหาไม่สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ ควรหยุดใช้งานและนำรถเข้าศูนย์บริการ

นำรถเข้าศูนย์บริการ

สุดท้าย หากปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ หรือยังเจอปัญหารถเข้าเกียร์ไม่ได้ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คและซ่อมแซมให้ถูกจุด ไม่ควรฝืนซ่อมด้วยตัวเองเนื่องจากรถอาจจะพังมากกว่าเดิมและกลายเป็นว่าเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็นได้

car interior gear
source: https://pxhere.com/en/photo/1510219

การบำรุงรักษาที่ช่วยป้องกันปัญหาเข้าเกียร์ไม่ได้

การบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันปัญหารถเข้าเกียร์ไม่ได้ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสียหายและยืดอายุการใช้งานของระบบเกียร์ในรถยนต์ของคุณได้ โดยเน้นความสำคัญของการใช้อุปกรณ์และสารหล่อลื่นที่เหมาะสม พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง

เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะเวลาที่กำหนด

การเปลี่ยนน้ำมันเกียร์เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ระบบเกียร์ทำงานได้อย่างราบรื่นและยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ หลีกเลี่ยงปัญหา รถเข้าเกียร์ไม่ได้ น้ำมันเกียร์มีหน้าที่หล่อลื่นและลดการสึกหรอของชิ้นส่วนภายในเกียร์ โดยปกติควรเปลี่ยนทุก 40,000-60,000 กิโลเมตร หรือทุก 2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์และสภาพการใช้งานของผู้ขับขี่

การตรวจสอบความเหมาะสมของน้ำมันเกียร์ที่ใช้งานต้องอ้างอิงจากคู่มือผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งจะระบุประเภทน้ำมันเกียร์ที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์รุ่นนั้น ๆ เช่น น้ำมันเกียร์แบบ ATF (Automatic Transmission Fluid) สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ หรือน้ำมันเกียร์แบบ MTF (Manual Transmission Fluid) สำหรับรถเกียร์ธรรมดา

หากใช้น้ำมันเกียร์ผิดประเภท เช่น การใช้น้ำมันเกียร์ ATF กับระบบเกียร์ธรรมดา อาจส่งผลให้ระบบเกียร์เกิดความร้อนสะสม ลดประสิทธิภาพการหล่อลื่น เพิ่มการสึกหรอของชิ้นส่วนภายในเกียร์ และทำให้รถเข้าเกียร์ไม่ได้

หากคุณไม่แน่ใจว่าน้ำมันเกียร์ชนิดใดเหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ ควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญหรือปรึกษาศูนย์บริการที่ได้รับการรับรอง การเลือกใช้น้ำมันเกียร์ที่เหมาะสมและการเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดไม่เพียงช่วยให้การขับขี่ปลอดภัย แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสียหายของระบบเกียร์ในระยะยาว 

หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเกียร์อย่างรุนแรง

การเปลี่ยนเกียร์กระชาก หรือเร่งเครื่องยนต์ขณะเปลี่ยนเกียร์ อาจทำให้ชิ้นส่วนภายในเกียร์สึกหรอเร็วขึ้น

ตรวจเช็กระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ

ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ โดยเฉพาะในรถเกียร์อัตโนมัติ มีความสำคัญในการควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ เซ็นเซอร์และวงจรไฟฟ้าภายในระบบเกียร์เป็นองค์ประกอบที่ต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันปัญหา รถเข้าเกียร์ไม่ได้ ที่อาจเกิดขึ้น

หนึ่งในเซ็นเซอร์สำคัญคือ เซ็นเซอร์ตำแหน่งเกียร์ (Transmission Range Sensor) ซึ่งตรวจสอบและส่งข้อมูลตำแหน่งเกียร์ไปยังระบบควบคุม หากเซ็นเซอร์นี้มีปัญหา เช่น สกปรก ชำรุด หรือหลุดจากตำแหน่ง อาจทำให้รถเข้าเกียร์ผิดพลาดหรือไม่สามารถเข้าเกียร์ได้เลย

อีกเซ็นเซอร์ที่มีบทบาทสำคัญคือ เซ็นเซอร์ความเร็ว (Vehicle Speed Sensor) ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับความเร็วของรถไปยังระบบเกียร์ หากเซ็นเซอร์นี้เสียหาย อาจส่งผลให้ระบบเกียร์ปรับเปลี่ยนเกียร์ไม่ถูกต้อง ทำให้การขับขี่ไม่ราบรื่น

ระบบไฟฟ้าในเกียร์อัตโนมัติยังมี โมดูลควบคุมเกียร์ (Transmission Control Module – TCM) ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลหลักที่ควบคุมการทำงานของเกียร์ทั้งหมด หาก TCM เสียหายหรือมีการตั้งค่าผิดพลาด จะทำให้ระบบเกียร์ไม่ตอบสนองตามปกติ

ฟิวส์และวงจรไฟฟ้าก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน หากฟิวส์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเกียร์ขาด เช่น ฟิวส์ที่ควบคุมเซ็นเซอร์เกียร์หรือระบบล็อกเกียร์ จะทำให้ระบบหยุดทำงานทันที ดังนั้น ควรตรวจสอบและเปลี่ยนฟิวส์ที่เสียหายด้วยฟิวส์ที่มีค่าแอมป์ตรงตามที่กำหนด

นอกจากนี้ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ OBD-II Scanner เพื่อตรวจสอบรหัสข้อผิดพลาด (Error Codes) ที่เกี่ยวข้องกับระบบเกียร์ จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยปัญหาได้รวดเร็วและแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม หากอ่านข้อมูลทั้งหมดนี้แล้วงง ๆ แนะนำว่าควรนำรถเข้าศูนย์บริการจะปลอดภัยต่อรถที่สุด เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนที่ละเอียดอ่อน หากพยายามตรวจสอบหรือซ่อมเองโดยไม่มีความรู้ ไม่ใช่แค่ทำให้รถเข้าเกียร์ไม่ได้เท่านั้น แต่ยังอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณอีกด้วย

ตรวจสอบสายเกียร์และระบบคลัตช์

หากพบว่ารถเข้าเกียร์ไม่ได้ หรือเปลี่ยนเกียร์ยากขึ้น หรือมีเสียงผิดปกติ ควรตรวจสอบสายเกียร์และคลัตช์ทันที

car fixing
source: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Car_service_center.jpg

เมื่อไรควรนำรถเข้าศูนย์บริการ

ถ้ารถเริ่มงอแงหรือเจอปัญหารถเข้าเกียร์ไม่ได้ไม่ได้แบบงง ๆ อาจถึงเวลาที่ต้องพึ่งศูนย์บริการแล้วล่ะ เพราะบางปัญหามันแก้เองไม่ได้จริง ๆ มาดูกันว่าอาการแบบไหนที่ควรเร่งรีบให้มืออาชีพช่วยจัดการ

  • ระบบเกียร์มีเสียงดังผิดปกติระหว่างเปลี่ยนเกียร์ เสียงแปลก ๆ อย่างเสียงครืดหรือกระแทกที่ออกมาจากเกียร์ อาจมาจากเฟืองเกียร์สึกหรอหรือลูกปืนในเกียร์มีปัญหา รีบตรวจเช็กด่วนก่อนเสียหายหนัก
  • น้ำมันเกียร์มีสีคล้ำหรือกลิ่นไหม้ ถ้าน้ำมันเกียร์เริ่มมีกลิ่นไหม้หรือลองเช็กแล้วเห็นว่าสีคล้ำขึ้น อย่าปล่อยผ่าน เพราะน้ำมันเกียร์ที่เสื่อมสภาพอาจทำให้ชิ้นส่วนภายในเกียร์เสียหายได้
  • รถค้างอยู่ในเกียร์ใดเกียร์หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเกียร์ P หรือ D ก็ไม่ควรฝืน ถ้าเจออาการนี้ อาจเป็นเพราะเซ็นเซอร์หรือสายเกียร์มีปัญหา ต้องให้ช่างตรวจสอบให้แน่ใจ
  • ไฟเตือนขึ้นบนหน้าปัด ไฟ Check Engine หรือ Transmission ติดขึ้นมาเมื่อไหร่ นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าระบบวงจรไฟฟ้าหรือเซ็นเซอร์ของเกียร์อาจมีปัญหา ให้รีบจัดการทันที
  • ระบบเบรกมือไฟฟ้าไม่ตอบสนอง ถ้ากดเบรกมือไฟฟ้าแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น อาจกระทบกับการเปลี่ยนเกียร์ได้ โดยเฉพาะในรถบางรุ่นที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบครบวงจร
  • รถกระตุกขณะเปลี่ยนเกียร์ ถ้าเปลี่ยนเกียร์แล้วรู้สึกว่ารถกระตุกแรงจนผิดปกติ อาจมาจากคลัตช์สึกหรอหรือปัญหาที่ซิงโครไนเซอร์ในเกียร์ ซึ่งต้องได้รับการซ่อมแซมทันที
  • น้ำมันเกียร์รั่ว เจอคราบน้ำมันใต้รถนี่ต้องระวัง เพราะการรั่วของซีลหรือปะเก็นในระบบเกียร์ อาจทำให้น้ำมันเกียร์ขาดและระบบเกียร์เสียหายได้

ถ้าเจอปัญหาเหล่านี้ อย่ารอช้า รีบพารถไปหาช่างมือโปรที่ศูนย์บริการ เพราะการแก้ไขทันทีไม่เพียงช่วยป้องกันปัญหาลุกลาม แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่อาจพุ่งสูงหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป 

สรุป

สรุปง่าย ๆ ถ้ารถของคุณเริ่มงอแงรถเข้าเกียร์ไม่ได้ หรือเจออาการแปลก ๆ เช่น น้ำมันเกียร์มีกลิ่นไหม้ เกียร์กระตุก หรือไฟเตือนขึ้นบนหน้าปัด อย่าปล่อยผ่าน! นี่อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่ารถของคุณต้องการความช่วยเหลือจากมือโปร การรีบแก้ไขปัญหา ไม่เพียงช่วยยืดอายุระบบเกียร์ แต่ยังลดค่าใช้จ่ายหนัก ๆ ที่อาจตามมาได้ด้วย

ปัญหาเกียร์พังรถเข้าเกียร์ไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะอาจนำไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนนที่ไม่คาดคิดได้ แต่ไม่ต้องห่วง หากคุณมีประกันภัยรถยนต์จาก insurverse ก็สบายใจได้เลย เพราะไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายซ่อมเกียร์ที่เสียหาย หรืออุบัติเหตุที่เกิดจากระบบรถยนต์ ประกันของเราคุ้มครองครบ! แถมยังปรับแต่งแพ็กเกจได้ตามใจ ช่วยให้คุณมั่นใจได้ทุกการเดินทาง

คำถามที่พบบ่อย 

check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย