ซื้อรถยนต์ต้องวางเงินดาวน์เท่าไหร่ มั่นใจว่าเป็นคำถามที่คนอยากมีรถยนต์ทุกคนสงสัย ดังนั้นเพื่อให้หายข้องใจเรามีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการดาวน์รถยนต์มาฝาก แต่จะมีเรื่องไหนบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ
เงินดาวน์รถยนต์ หมายถึง เงินที่ต้องจ่ายให้กับผู้ขายรถยนต์ก่อนยื่นขอสินเชื่อซื้อรถยนต์ โดยเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปหักกับยอดที่ต้องจ่าย ทั้งนี้การจ่ายเงินดาวน์ซื้อรถยนต์ไม่มีการกำหนดว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่ผู้ซื้อมักจ่ายที่ประมาณ 25 – 40% ของราคารถยนต์ที่ต้องการซื้อ เนื่องจากยิ่งจ่ายเงินดาวน์รถยนต์สูง ยอดกู้เงินซื้อรถจากธนาคารก็จะน้อยลง ซึ่งนอกจากทำให้เสียดอกเบี้ยน้อยลงเช่นเดียวกันแล้ว ยังไม่ต้องใช้คนค้ำประกันในการขอยื่นกู้และมีโอกาสได้รับการอนุมัติสินเชื่อสูงขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินมองว่าผู้ขอยื่นกู้มีความสามารถในการผ่อนชำระสูง
ถึงแม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วการดาวน์รถยนต์ควรอยู่ที่ประมาณ 25 – 40% ของราคารถยนต์ แต่ในความจริงแล้วจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ซื้อกับผู้จำหน่าย จึงทำให้ปัจจุบันมีทั้งแบบจ่ายและไม่ต้องจ่ายเงินดาวน์รถยนต์ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดการคำนวณดังต่อไปนี้
สำหรับรูปแบบแรกคือการจ่ายเงินดาวน์รถยนต์ ซึ่งอย่างที่รู้กันแล้วว่ายิ่งจ่ายสูงก็ยิ่งทำให้จ่ายดอกเบี้ยต่อปีและดอกเบี้ยรวมน้อยลง เนื่องจากเหลือยอดเงินที่ต้องขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินน้อยลง แต่หากถามว่าผ่อนนานเท่าใดหรือต้องผ่อนเดือนละกี่บาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการผ่อนชำระของแต่ละคน เช่น รถยนต์ราคา 500,000 บาท วางเงินดาวน์ 40% เท่ากับ 200,000 บาท ต้องจ่ายที่เหลือ 300,000 บาท หากเลือกผ่อนให้หมดภายใน 5 ปี จะจ่ายครบก่อนเลือกผ่อน 6 ปี แต่ค่างวดต่อเดือนก็จะมากกว่า
การซื้อรถยนต์แบบฟรีเงินดาวน์กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เหมาะสำหรับคนอยากมีรถแต่ยังไม่มีเงินก้อนไปวางเงินดาวน์รถยนต์ อย่างไรก็ตามการออกรถยนต์แบบฟรีดาวน์จะมีการกำหนดประวัติผู้ซื้อมากกว่าการซื้อรถยนต์แบบจ่ายเงินดาวน์ ต้องมีรายได้แน่นอนและมากเป็น 2 เท่าของเงินค่างวดรถยนต์ ไม่มีประวัติติดเครดิตบูโร หรือ ติดแบล็คลิส ที่อยู่ชัดเจน ทำงานที่มีรายได้มั่นคง อายุงานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงิน และที่สำคัญต้องใช้บุคคลค้ำประกันที่มีอาชีพมั่นคง ทั้งนี้เนื่องการซื้อรถยนต์แบบฟรีดาวน์ผู้ซื้อต้องยื่นขอสินเชื่อแบบเต็มจำนวน ส่วนเรทค่างวดจะขึ้นอยู่กับยอดเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยรถยนต์ และระยะเวลาในการผ่อนชำระ แต่เช่นเดียวกับการซื้อแบบมีเงินดาวน์ยิ่งมีระยะเวลาผ่อนนานยิ่งจ่ายดอกเบี้ยสูง แต่จะจ่ายค่างวดถูกกว่าการผ่อนระยะสั้น
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เวลาซื้อรถยนต์คนส่วนใหญ่มักให้ความสนใจเฉพาะเงื่อนไขการวางเงินดาวน์ เงื่อนไขการยื่นขอสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยต่อปี ค่างวดต่อเดือน รวมไปถึงโปรโมชั่นที่ได้รับจากผู้จัดจำหน่าย แต่ในความจริงแล้วการออกรถยนต์ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แฝงอยู่ที่ผู้ออกรถต้องจ่ายเป็นเงินสดในวันออกรถเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น
แน่นอนว่าในกรณีที่ซื้อรถใหม่จากผู้จัดจำหน่ายรถยนต์จะต้องใช้ป้ายทะเบียนสีแดงตัวอักษรสีดำหรือป้ายทะเบียนชั่วคราวไปก่อน หลังจากนั้นผู้จัดจำหน่ายจะเป็นผู้ขอทะเบียนป้ายสีขาวตัวอักษรสีดำที่แสดงว่าผ่านการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วให้กับผู้ซื้อ แต่จะต้องรอประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ผู้จัดจำหน่ายส่วนใหญ่มักเรียกเก็บค่ามัดจำป้ายแดงจากผู้ซื้อ 2,000 – 3,000 บาท ซึ่งผู้ซื้อจะได้รับคืนเมื่อเปลี่ยนเป็นป้ายสีขาว
ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนอยู่ที่ประมาณ 515 บาท โดยแบ่งเป็นอัตราค่าจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ 315 บาท ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ 100 บาท และค่าป้ายทะเบียนรถยนต์ 100 บาท แต่กรณีซื้อรถยนต์มือสองอาจมีค่าต่อทะเบียนเพิ่มเติมด้วย
เพื่อป้องกันความเสี่ยงของสินเชื่อสถาบันการเงินส่วนใหญ่จึงมักให้ผู้ซื้อรถยนต์แบบผ่อนชำระทำประกันสินเชื่อด้วย โดยจะมีระยะเวลาความคุ้มครองเท่ากับระยะเวลาที่ผ่อนชำระ ส่วนราคาขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการดาวน์รถยนต์นั้นเป็นส่วนที่คนออกรถทุกคนให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยให้เป็นหนี้สินเชื่อน้อยลงแล้ว ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ยื่นขอสินเชื่ออีกด้วย สำหรับผู้ที่ถอยรถใหม่ออกมาใช้งานแล้ว หากกำลังมองหาประกันรถยนต์ แนะนำ insurverse บริษัทประกันรถยนต์ออนไลน์ที่มีประกันภัยรถยนต์หลายประเภทให้คุณเลือกได้ตรงกับความต้องการและงบประมาณที่คุณสะดวก สามารถคลิกเข้าไปเลือกประกันรถยนต์ที่คุณสนใจได้ที่เว็บไซต์ insurverse
check_circleคัดลอกลิงก์เรียบร้อย
กรมธรรม์ คือ เอกสารสัญญาสำคัญระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัย โดยจะระบุความคุ้มครองที่จะได้รับเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช็คประกันรถยนต์ฉบับคนขี้ลืมรู้ทันทีว่าทำประกันไว้ที่ไหน โดยไม่ต้องง้อเล่มกรมธรรม์ พร้อมหาคำตอบว่า ใครอีกบ้างที่เช็คประกันได้นอกจากเจ้าของรถยนต์
ต่ออายุประกันรถยนต์ เลือกยังไงให้คุ้มค่า ประหยัดค่าใช้จ่าย ชวนอ่านข้อควรรู้และระวังเพื่อต่อประกันรถยนต์ให้คุ้มค่าที่สุด ก่อนประกันรถยนต์หมดอายุ